Page 29 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดยะลา
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               22







                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด
                         3.1  กล้วยหินบันนังสตา ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI :   Geographical

                       Indication) ลักษณะผลส่วนใหญ่เป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่ผลด้านข้างสุดของหวีทั้งสองด้านมักจะเป็น
                       รูปสามเหลี่ยม เปลือกหนา ผลดิบเปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อสุกเปลือกสีเหลือง เนื้อแน่น ผลดิบเนื้อแข็งสีขาว

                       ผลสุกเนื้อสีขาวอมเหลืองถึงเหลือง ไม่ติดเปลือก กล้วยหิน ยิ่งสุกงอมจะมีรสชาติออกเปรี้ยว ชาวบ้าน

                       นิยมน ากล้วยดิบมาแปรรูป เช่น ท ากล้วยฉาบ ส่วนกล้วยสุก หากต้องการบริโภคให้อร่อยต้องท าให้สุก
                       หรือผ่านความร้อนด้วยการต้ม นึ่ง ปิ้ง ย่าง เหตุที่ชื่อว่า “กล้วยหิน” สันนิษฐานว่า เพราะกล้วยหิน

                       มีเนื้อแน่น เหนียวกว่ากล้วยอื่น ๆ และบริเวณที่กล้วยชนิดนี้เจริญเติบโตดีคือบริเวณฝั่งน้ าที่มีก้อนกรวด
                       และก้อนหิน จึงเรียกว่า กล้วยหิน มีล าต้นเทียมสูง  น ามาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น หัวปลี ใบ กาบ ล าต้น

                       จึงเหมาะสมที่เป็นพืชอนาคตไกล นิยมปลูกกล้วยหิน แซมในสวนไม้ผลที่ปลูกใหม่ โดยปลูกสับหว่างแถว

                       เพื่อให้มีร่มเงาและความชุ่มชื้น เมื่อต้นกล้วยหินอายุปีครึ่งจะให้ผลผลิตเต็มที่ และสามารถตัดขายได้
                       ทุก ๆ 1 เดือน

                         3.2  ลองกอง เป็นผลไม้พันธุ์เดียวกับลางสาด มีเปลือกหนา แต่ไม่มียางเหมือนลางสาด รวมถึง

                       มีรสชาติที่หวานอร่อยกว่าลางสาด และลองกองที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมที่สุดนั้นก็คือ “ลองกอง
                       ตันหยงมัส” หรือ “ลองกองซีโป” ลักษณะเด่นของลองกองตันหยงมัส คือ ออกผลเป็นช่อสวย

                       เปลือกผลนุ่มคล้ายก ามะหยี่สีเหลืองทอง เนื้อล่อน เมล็ดน้อยหรือไม่มีเลย มีกลิ่นหอม และรสชาติ

                       หวานชื่นใจ และยังอุดมไปด้วยวิตามินบีและฟอสฟอรัส ลองกองเป็นพืชเศรษฐกิจที่ส าคัญ และจังหวัด
                       ยะลาเป็นจังหวัดที่ควรส่งเสริมมีการปลูกลองกองมากขึ้น เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เหมาะแก่การ

                       ปลูกและลองกองเป็นผลไม้ที่นิยมทั้งในไทยและต่างประเทศมีตลาดรองรับจ านวนมาก การปลูก

                       ลองกองจึงเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ ที่สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้เป็นอย่างดี
                         3.3  กาแฟ เป็นพืชเศรษฐกิจ อีกชนิดที่ควรส่งเสริม ให้กับเกษตรกรจังหวัดยะลา เนื่องจากกาแฟ

                       ที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดยะลา ก าลังเป็นพืชทางเลือก ที่สร้างอัตลักษณ์เฉพาะตัว และสร้างรายได้ให้กับ
                       เกษตรกรในพื้นที่ชายแดนใต้ ด้วยจุดเด่นของเมล็ดกาแฟโรบัสต้าที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดยะลาจะมี

                       ค่าความหวาน และความเข้มข้นในระดับที่สูงกว่าและเหมาะสมกว่าเมื่อเทียบกับกาแฟชนิดอื่น

                         3.4  ทุเรียน เป็นพันธุ์ทุเรียนหมอนทองและพันธุ์ชะนี ที่มีลักษณะเด่น เมล็ดลีบเล็ก เนื้อมาก
                       เนื้อแห้งละเอียด สีเหลืองอ่อน มีความมันมากกว่าความหวาน หอม กรอบนอกนุ่มใน

                         3.5  พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green

                       Economy) หรือเศรษฐกิจชีวภาพ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่งที่
                       ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสารส าคัญที่น าไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์

                       ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องส าอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกในปี 2564
                       โดยด าเนินการภายใต้ตลาดน าการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะช่วย
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34