Page 34 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดยะลา
P. 34
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
27
4.4 มะพร้าว
1) พื นที่ปลูกมะพร้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกมะพร้าวอยู่ มีเนื้อที่
276 ไร่ มีพื้นที่ปลูกในเขตอ าเภอรามัน อ าเภอเมืองยะลา อ าเภอกรงปินัง คณะอนุกรรมการพัฒนา
ที่ดินจังหวัดเห็นควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดิน โดยส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมะพร้าวพันธุ์ดีในพื้นที่
เหมาะสมสูงต่อการปลูกมะพร้าว โดยสร้างทางเลือกในการพัฒนาการผลิตมะพร้าวตามความต้องการ
ของแหล่งผลิตโดยอาจคัดเลือกพันธุ์ดีในท้องถิ่น มีการปลูกมะพร้าวทดแทนในพื้นที่สวนที่อายุมาก
เพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตมะพร้าวส าคัญของจังหวัด ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ในการบริหารจัดการ
ระบบการผลิตมะพร้าว ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมะพร้าวให้มีผลผลิตต่อพื้นที่สูง มีปริมาณ
เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค โดยต้องรักษาระดับผลผลิตต่อไร่ไม่ต่ ากว่า 1,000 กิโลกรัมต่อไร่
มีการส่งเสริมให้ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพสินค้า หรือเพิ่มมูลค่าสินค้า และมีการจัดการดิน ปุ๋ย
พันธุ์มะพร้าวที่ทนต่อโรคแมลง โดยรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดการตลาดในประเทศ
และต่างประเทศแบบครบวงจร มีการสนับสนุนแหล่งเงินทุนในการแปรรูป และการปฏิบัติทาง
การเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) จากหน่วยงานภาครัฐ น าเทคโนโลยีและ
นวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเป็นฟาร์มหรือแปลงเกษตรอัจฉริยะ โดยสร้างหรือน านวัตกรรม
และวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ในการเกษตรใช้เทคโนโลยีเกษตรที่มีความแม่นย าทั้งแปลงผลิตพืช เพื่อให้
ได้ผลผลิตตรงตามความต้องการ ควบคุมคุณภาพผลผลิตมะพร้าวให้คงที่ และสามารถวางแผนระบบ
การตลาดดีขึ้น
2) พื นที่ปลูกมะพร้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกมะพร้าวอยู่
มีเนื้อที่ 1,434 ไร่ อยู่ในเขตอ าเภอรามัน อ าเภอยะหา และอ าเภอเมืองยะลา พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต
ในรูปแบบแปลงใหญ่ สนับสนุนการปรับปรุงบ ารุงดิน เพื่อพัฒนาศักยภาพของที่ดินให้มีความเหมาะสมต่อ
การปลูกมะพร้าวมากยิ่งขึ้น สนับสนุนมะพร้าวพันธุ์ดีที่ทนต่อโรคแมลง ให้ความรู้ในการก าจัด
โรคแมลงศัตรูมะพร้าวที่เหมาะสม สนับสนุนการจัดตั้งแหล่งรับซื้อผลผลิตมะพร้าวในพื้นที่ และ
เชื่อมโยงการตลาด โดยมีตลาดรับซื้อผลผลิตมะพร้าวส ารอง ที่สามารถรองรับผลผลิตทางการเกษตร
ในช่วงที่ผลผลิตล้นตลาด หรือเกินก าลังผลิตของโรงงานแปรรูปในพื้นที่ใกล้เคียง พัฒนาสถาบัน
เกษตรกรให้เข้มแข็ง และเป็น Smart Farmer โดยน าเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา
เป็นฟาร์มหรือแปลงเกษตรอัจฉริยะ
3) พื นที่ปลูกมะพร้าวในพื นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
ยังคงใช้ที่ดินปลูกมะพร้าวอยู่ ให้ความรู้เกษตรกรในการปรับเปลี่ยนชนิดพืชให้เหมาะสมตรงตาม
ศักยภาพของพื้นที่ โดยสนับสนุนให้เข้าร่วมโครงการต่าง ๆ เช่น Zoning by Agri-Map เป็นต้น พร้อม
ทั้งจัดระบบการผลิตและการบริหารจัดการดิน น้ า ปุ๋ย ที่เหมาะสมส าหรับมะพร้าว การสนับสนุน
แหล่งน้ า และการส่งเสริมให้ความรู้ในการปรับปรุงบ ารุงดิน และการท าเกษตรผสมผสาน