Page 31 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดยะลา
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               24







                       4  แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ
                         4.1  ยางพารา
                             1) พื นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่ มีเนื้อที่

                       256,138 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอ าเภอรามัน อ าเภอยะหา และอ าเภอเมืองยะลา ตามล าดับ

                       ทั้งนี้ตามมาตรการยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี ( พ.ศ. 2560-2579) เน้นให้มีการเพิ่มผลผลิต
                       ยางพาราต่อไร่ต่อปี จากปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 224 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 360 กิโลกรัมต่อไร่ ภายในปี 2579 นั้น

                       ควรมีการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ การคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และต้านทานโรค

                       การปรับปรุงบ ารุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การปลูกพืชแซมและพืชคลุมดินให้
                       เหมาะสมเพราะมีผลต่อการเจริญเติบโตของยาง การบ ารุงรักษา การใส่ปุ๋ย การตัดแต่งกิ่ง และเทคนิค

                       การกรีดยางให้มีปริมาณน้ ายางสูงมีคุณภาพและตรงตามมาตรฐาน เน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่
                       เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง ส่งเสริมให้เกษตรกร

                       ชาวสวนยางในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีการบริหารงานแบบมืออาชีพและสามารถถ่ายทอดกิจการให้กับ

                       คนรุ่นใหม่
                               2) พื นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่

                       มีเนื้อที่ 101,885 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอ าเภอรามัน อ าเภอยะหา และอ าเภอเมืองยะลา เกษตรกร
                       ยังคงปลูกยางพาราได้ผลดี ทั้งนี้ควรสนับสนุนให้เพิ่มผลผลิตยางพารา โดยเน้นการจัดการที่เหมาะสม

                       ในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับพื้นที่เหมาะสมสูง โดยเฉพาะการปรับปรุงบ ารุงดิน เน้นการพัฒนาการ

                       ตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลางให้มากขึ้น
                       ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และปลูกยางพาราทดแทนในพื้นที่เดิมเช่นกันกับ

                       พื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง พัฒนาตลาดและช่องทางจัดจ าหน่ายให้มากขึ้น โดยเน้นการ

                       แปรรูปยาง หรือไม้ยางพาราเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจเน้นจากชุมชนที่เข้มแข็งเป็นพื้นที่ต้นแบบ
                               3) พื นที่ปลูกยางพาราในพื นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร

                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ ทั้งนี้ควรส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และหาพืช

                       อื่นทดแทน เช่น ไม้ผล ไม้ยืนต้น ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทน
                       ที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตพืชผัก บริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม

                       (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น จัดหาตลาดให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชผักทดแทน โดยอาจเริ่มจาก
                       ตลาดชุมชน

                             4) พื นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมส าหรับการปลูกยางพารา แต่ปัจจุบันเกษตรกร

                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกยางพารา พบว่าเกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ข้าว มะพร้าว ปาล์มน้ ามัน เป็นต้น
                       ในส่วนนี้ควรเน้นให้เกษตรกรปลูกพืชดังกล่าวต่อไป เนื่องจากปัจจุบันตามมาตรการยุทธศาสตร์

                       ยางพารา เน้นการลดพื้นที่การปลูกยางพาราอยู่แล้ว ฉะนั้นควรสร้างความตระหนักให้เกษตรกร
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36