Page 18 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพังงา
P. 18
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
13
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
เกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมันต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและ
ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอด
โครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
ในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกปาล์มน้ำมัน
ที่สำคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่อำเภอทับปุด อำเภอท้ายเหมือง และอำเภอคุระบุรี เป็นต้น
พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูก
ปาล์มน้ำมันในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน เช่น ความอุดม
สมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้น โดยกระจายอยู่ในอำเภอคุระบุรี อำเภอทับปุด และ
อำเภอท้ายเหมือง เป็นต้น
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูก
ปาล์มน้ำมัน มีต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
2.3 มังคุด
มังคุดเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดพังงาในลำดับที่ 3 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก
หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 7 และภาพที่ 10 - 11)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกมังคุด
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 58,160 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.28
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอตะกั่วทุ่ง 28,850 ไร่ อำเภอทับปุด 15,734 ไร่
อำเภอเกาะยาว 11,389 ไร่ และอำเภอเมืองพังงา 2,187 ไร่
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 30,288 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
1.71 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอตะกั่วทุ่ง 23,201 ไร่ อำเภอเกาะยาว
2,981 ไร่ อำเภอทับปุด 2,414 ไร่ และอำเภอเมืองพังงา 1,692 ไร่
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 593,273 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
33.49 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอท้ายเหมือง 142,316 ไร่ อำเภอตะกั่วป่า
122,238 ไร่ อำเภอคุระบุรี 92,052 ไร่ อำเภอตะกั่วทุ่ง 67,908 ไร่ อำเภอกะปง 62,615 ไร่
อำเภอเมืองพังงา 54,922 ไร่ อำเภอทับปุด 50,910 ไร่ และอำเภอเกาะยาว 312 ไร่
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 1,089,698 ไร่
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกมังคุดในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน ได้ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 229 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.39 ของพื้นที่ศักยภาพสูง
กระจายอยู่ในอำเภอทับปุด 195 ไร่ อำเภอตะกั่วทุ่ง 28 ไร่ และอำเภอเมืองพังงา 6 ไร่
(2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 32 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.11 ของพื้นที่
ศักยภาพปานกลาง กระจายอยู่ในอำเภอทับปุด 19 ไร่ อำเภอตะกั่วทุ่ง 11 ไร่ และอำเภอเมืองพังงา 2 ไร่