Page 14 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพังงา
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                9







                         2.2  ปาล์มน้ำมัน
                             ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดพังงาในลำดับที่ 2 จากฐานข้อมูลในแผนที่
                       เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 8 - 9)
                             1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน

                               ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 284,660 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.07
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอท้ายเหมือง 81,106 ไร่ อำเภอทับปุด 41,701 ไร่
                       อำเภอตะกั่วทุ่ง 38,635 ไร่ อำเภอคุระบุรี 36,831 ไร่ อำเภอเมืองพังงา 35,229 ไร่ อำเภอตะกั่วป่า
                       30,654 ไร่ อำเภอกะปง 15,249 ไร่ และอำเภอเกาะยาว 5,255 ไร่

                               ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 246,350 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       13.91 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอท้ายเหมือง 56,572 ไร่ อำเภอตะกั่วทุ่ง
                       52,103 ไร่ อำเภอคุระบุรี 42,177 ไร่ อำเภอตะกั่วป่า 29,948 ไร่ อำเภอทับปุด 22,449 ไร่
                       อำเภอเมืองพังงา 17,301 ไร่ อำเภอกะปง 14,618 ไร่ และอำเภอเกาะยาว 11,182 ไร่

                               ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 170,437 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       9.62 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอตะกั่วป่า 61,751 ไร่ อำเภอตะกั่วทุ่ง 32,607 ไร่
                       อำเภอกะปง 32,337 ไร่ อำเภอท้ายเหมือง 13,160 ไร่ อำเภอคุระบุรี 12,646 ไร่ อำเภอเมืองพังงา

                       11,279 ไร่ อำเภอทับปุด 4,541 ไร่ และอำเภอเกาะยาว 2,116 ไร่
                               ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 1,069,973 ไร่
                             2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
                       ได้ดังนี้
                               (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 75,893 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 26.66 ของพื้นที่ศักยภาพสูง

                       กระจายอยู่ในอำเภอทับปุด 21,611 ไร่ อำเภอท้ายเหมือง 16,021 ไร่ และอำเภอคุระบุรี 12,246 ไร่
                               (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 52,936 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 21.49
                       ของพื้นที่ศักยภาพปานกลาง กระจายอยู่ในอำเภอคุระบุรี 12,551 ไร่ อำเภอทับปุด 12,541 ไร่ และ

                       อำเภอท้ายเหมือง 9,282 ไร่
                               (3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 35,406 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 20.77
                       ของพื้นที่ศักยภาพเล็กน้อย กระจายอยู่ในอำเภอกะปง 11,022 ไร่ อำเภอตะกั่วป่า 10,378 ไร่ และ
                       อำเภอท้ายเหมือง 3,789 ไร่

                               (4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 23,542 ไร่
                             3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกปาล์มน้ำมันแต่ไม่ใช้พื้นที่ปลูก
                       พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน และพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมัน
                       ในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดพังงามีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับ

                       ความเหมาะสมสูง (S1) และระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 402,181 ไร่ กระจาย
                       อยู่ทั่วทุกอำเภอ โดยอำเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อำเภอท้ายเหมือง 112,375 ไร่
                       อำเภอตะกั่วทุ่ง 79,820 ไร่ และอำเภอคุระบุรี 54,211 ไร่ ตามลำดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19