Page 13 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพังงา
P. 13
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
8
ทั้งนี้ ในการส่งเสริมการปลูกพืชจะพิจารณาเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพคงเหลือในระดับ
ความเหมาะสมสูง (S1) และระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) เท่านั้น เนื่องจากสภาพพื้นที่ปลูกพืช
ตรงตามศักยภาพของดิน การลงทุนต่ำก็สามารถเพิ่มผลผลิตได้ จึงควรส่งเสริมในพื้นที่ดังกล่าว
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพพื้นที่ร่วมกับพื้นที่ปลูกพืชในปัจจุบัน พบว่า พื้นที่ที่ควร
พิจารณาให้มีการปรับเปลี่ยนไปปลูกยางพารา คือ บริเวณที่เป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน (S3) 11,002 ไร่
พื้นที่ปลูกมังคุด (S3) 10,011 ไร่ (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตยางพารา
ปาล์มน้ำมัน (ไร่) มังคุด (ไร่)
อำเภอ
S3 N รวม S3 N รวม
เกาะยาว 93 - 93 - - -
ตะกั่วทุ่ง 1,967 - 1,967 769 - 769
คุระบุรี 1,640 - 1,640 1,473 - 1,473
เมืองพังงา 1,095 - 1,095 1,074 - 1,074
ท้ายเหมือง 976 - 976 2,087 - 2,087
ตะกั่วป่า 2,520 - 2,520 1,089 - 1,089
กะปง 1,178 - 1,178 2,276 - 2,276
ทับปุด 1,533 - 1,533 1,243 - 1,243
รวม 11,002 - 11,002 10,011 - 10,011
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
เกษตรกรปลูกยางพาราต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผล
ผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการ
ที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกยางพารา
ในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกยางพาราซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกยางพารา
ที่สำคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่ในอำเภอคุระบุรี อำเภอเกาะยาว อำเภอตะกั่วทุ่ง เป็นต้น
พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูก
ยางพาราในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกยางพารา เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ความเป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ำ โดยกระจายอยู่ในอำเภอท้ายเหมือง อำเภอตะกั่วทุ่ง
อำเภอคุระบุรี เป็นต้น
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูก
ยางพารา มีต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย