Page 23 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดพังงา
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               18







                               ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 593,273 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       33.49 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอำเภอท้ายเหมือง 142,316 ไร่ อำเภอตะกั่วป่า
                       122,238 ไร่ อำเภอคุระบุรี 92,052 ไร่ อำเภอตะกั่วทุ่ง 67,908 ไร่ อำเภอกะปง 62,615 ไร่
                       อำเภอเมืองพังงา 54,922 ไร่ อำเภอทับปุด 50,910 ไร่ และอำเภอเกาะยาว 312 ไร่

                               ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 1,089,698 ไร่
                             2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกเงาะในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดินได้ดังนี้
                               (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 185 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.32 ของพื้นที่ศักยภาพสูง
                       กระจายอยู่ในอำเภอทับปุด 184 ไร่ และอำเภอตะกั่วทุ่ง 1 ไร่

                               (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 67 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.22 ของพื้นที่
                       ศักยภาพปานกลาง กระจายอยู่ในอำเภอตะกั่วทุ่ง 44 ไร่ อำเภอทับปุด 19 ไร่ อำเภอเกาะยาว 2 ไร่
                       และอำเภอเมืองพังงา 2 ไร่
                               (3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 12,712 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.14 ของพื้นที่

                       ศักยภาพเล็กน้อย กระจายอยู่ในอำเภอกะปง 5,929 ไร่ อำเภอท้ายเหมือง 1,982 ไร่ และอำเภอเมืองพังงา
                       1,271 ไร่
                               (4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 1,254 ไร่

                             3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกเงาะแต่ไม่ใช้พื้นที่ปลูก
                       พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับปลูกเงาะ และพื้นที่เพาะปลูกเงาะในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ
                       (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดพังงามีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับความเหมาะสมสูง (S1) และระดับ
                       ความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 88,196 ไร่ โดยอำเภอที่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด
                       ได้แก่ อำเภอตะกั่วทุ่ง 52,006 ไร่ รองลงมา ได้แก่ อำเภอทับปุด 17,945 ไร่ อำเภอเกาะยาว 14,368 ไร่

                       และอำเภอเมืองพังงา 3,877 ไร่ ตามลำดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้
                               (1) พื้นที่เหมาะสมสูงคงเหลือ (S1) มีเนื้อที่ 57,975 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 99.68 ของพื้นที่
                       ศักยภาพสูง พบมากในอำเภอตะกั่วทุ่ง 28,849 ไร่ อำเภอทับปุด 15,550 ไร่ และอำเภอเกาะยาว

                       11,389 ไร่
                               (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลางคงเหลือ (S2) มีเนื้อที่ 30,221 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 99.78
                       ของพื้นที่ศักยภาพปานกลาง พบมากในอำเภอตะกั่วทุ่ง 23,157 ไร่ อำเภอเกาะยาว 2,979 ไร่ และ
                       อำเภอทับปุด 2,395 ไร่
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28