Page 30 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดปัตตานี
P. 30
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
23
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
ปลูกมะพร้าวต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี
ซึ่งการปลูกปาล์มน้ ามันในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถน าไปสู่การต่อยอดโครงการที่ส าคัญต่าง ๆ ได้
เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นย า เป็นต้น
พื้นที่ปลูกมะพร้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกมะพร้าวใน
ที่ดินที่ไม่มีข้อจ ากัดทางกายภาพต่อการปลูกมะพร้าวซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกปาล์มน้ ามันที่ส าคัญของ
จังหวัด โดยกระจายอยู่ในอ าเภอหนองจิก อ าเภอยะรัง อ าเภอสายบุรี
พื้นที่ปลูกมะพร้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูกมะพร้าว
ในที่ดินที่มีข้อจ ากัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกมะพร้าว เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ความเป็นกรด เป็นด่าง และแหล่งน้ า โดยกระจายอยู่ในอ าเภอยะหริ่ง อ าเภอปะนาเระ อ าเภอสายบุรี
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
เข้าร่วมโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูก
มะพร้าวมีต้นทุนต่ า และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด
3.1 ส้มโอปูโกยะรัง เป็นส้มโอที่มีก าเนิดมาจากส้มโอพันธุ์ทองดีนครชัยศรี เกษตรกรบ้านต้นมะขาม
ต าบลเมาะมาวี อ าเภอยะรัง ซื้อมารับประทานโดยผลที่ซื้อมามีการประทับตราด้วยตัวอักษรจีน และ
เห็นว่ามีรสชาติดีจึงได้น าเมล็ดไปปลูกและขยายพันธุ์ ต่อมาเกิดการกลายพันธุ์ท าให้เกิดส้มโอพันธุ์ใหม่
ที่มีรสชาติหวาน หอม อร่อย เปลือกบาง เนื้อนิ่ม มีขนคล้ายก ามะหยี่ปกคลุมทั่วผล เนื้อสีแดงทับทิม
บางผลมีเมล็ดลีบ และขนาดเล็ก ถ้าไม่แก่จัดจะมีรสอมเปรี้ยวเล็กน้อย และได้เรียกส้มโอดังกล่าวเป็นภาษา
มลายูว่า ส้มโอปูโก ซึ่งมีความหมายว่าส้มที่ประทับตรานั่นเอง อ าเภอยะรัง จังหวัดปัตตานีมีพื้นที่ปลูกส้มโอ
มากที่สุด ประมาณ 635 ไร่ สามารถปลูกได้ทั้งที่ลุ่มและที่ดอน เนื่องจากสภาพพื้นที่โดยทั่วไปของ
อ าเภอยะรังเป็นที่ราบลุ่ม สภาพดินเป็นดินเหนียวปนทราย มีแม่น้ าส าคัญไหลผ่านคือแม่น้ าปัตตานี
ไหลผ่านตลอดทั้งพื้นที่และไหลลงสู่อ่าวไทยบริเวณปากแม่น้ าปัตตานี บางส่วนไหลมาจากเทือกเขา
สันกาลาคีรี จังหวัดยะลา และแม่น้ าจากประเทศมาเลเซีย แม่น้ าสายส าคัญเหล่านี้ได้พัดพาธาตุอาหาร
ส าหรับพืชจ านวนมากจากต้นน้ าไหลบ่าลงสู่ที่ราบเบื้องล่าง ท าให้สภาพดินในอ าเภอยะรังมีความอุดม
สมบูรณ์ เนื่องจากดินตะกอนที่แม่น้ าปัตตานีพัดพามาทับถมกัน ชั้นดินบางแห่งเป็นศิลาแลงอ่อน มี
เหล็กและแมงกานีสปะปนอยู่ด้วย จึงเหมาะสมต่อการเพาะปลูก และส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตร
โดยเฉพาะไม้ผลในพื้นที่อ าเภอยะรังเป็นที่ต้องการของตลาดเพราะมีรสชาติดี และถือว่าเป็นส้มโอที่มี
ชื่อเสียงของจังหวัดปัตตานี เป็นสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ทั้งยัง
เป็นพื้นที่แหล่งก าเนิดของส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม และส้มโอปูโกยะรังได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน
สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 ปัจจุบันราคาอยู่ที่ลูกละ 100 บาท
3.2 ลูกหยี เป็นไม้ผลพืชพื้นถิ่นขึ้นชื่อของจังหวัดปัตตานี และมีจ านวนต้นหยีมากที่สุดในพื้นที่
อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เป็นไม้ยืนต้นเนื้อแข็งขนาดใหญ่สูงใหญ่คล้ายต้นยางนา มีอายุยืนนับร้อยปีและ
สามารถเจริญเติบโตได้เองตามธรรมชาติ ในอดีตการปลูกต้นหยีมักปลูกเพื่อแสดงแนวเขตที่ดินหรือที่สวน