Page 31 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดปัตตานี
P. 31
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
24
ของตนเอง หรือน าไม้มาสร้างบ้าน ในอ าเภอยะรังมีต้นหยีอายุเกินร้อยปีอยู่เกือบร้อยต้น มีต้นหยี
รุ่นลูกรุ่นหลานรวม 3 พันกว่าต้น ซึ่งในจ านวนนี้มีต้นที่ออกผลอยู่พันกว่าต้น ความพิเศษของต้นหยีก็คือ
นับจากวันที่เริ่มปลูกจนถึงวันที่ออกผลนั้นต้องใช้เวลายาวนานราว 30 ปี การเก็บลูกหยีก็ต้องให้
ผู้ช านาญการปีนขึ้นไปถึงยอดแล้วตัดกิ่งที่มีผลลงมา ตัดกิ่งด้านไหนปีหน้าด้านนั้นก็จะไม่ออกผลอีก
ต้องรอปีถัดไป เพราะต้นหยีจะออกผลตามกิ่งที่มีอายุเท่านั้น โดยการเก็บลูกหยีนั้นที่นี่เขาจะเก็บปีเว้นปี
ลักษณะผลลูกหยีจะออกเป็นช่อผลดิบจะมีสีเขียวเมื่อสุกเปลือกจะออกสีด าเนื้อด้านในจะเป็นสีเหลืองอมน้ าตาล
รสชาติจะออกเปรี้ยวเมล็ดจะมีลักษณะแบนเป็นสีน้ าตาล ส่วนลูกหยีที่สุกแล้วนอกจากกินผลสดแล้ว
ภูมิปัญญาของชาวบ้านยังมีวิธีการเก็บรักษาผลลูกหยีและวิธีการแปรรูปพัฒนามาเป็นผลิตภัณฑ์ลูกหยี
ยะรังในรูปแบบต่าง ๆ การแปรรูปลูกหยีคุณภาพดีที่สุดในช่วงต้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวคือ ลูกหยีเชื่อม
จากนั้นก็จะน ามาแปรรูปเป็นน้ าลูกหยี ลูกหยีทรงเครื่อง น้ าพริกลูกหยี เยลลี่ลูกหยี สบู่ลูกหยี และ
สินค้าที่คนคุ้นเคยกันดีอย่าง ลูกหยีกวน และลูกหยีฉาบ ปัจจุบันมีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอสลูกหยี
อีกด้วย ท าให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดชายแดนใต้ สร้างรายได้ให้กับชาวสวนในพื้นที่ได้
พอสมควร ทางด้านเศรษฐกิจที่นี่จะมีการท าในรูปแบบต้นน้ า กลางน้ า และปลายน้ า บริหารการจัดการ
ควบคุมตั้งแต่จุดเริ่มต้นการผลิตไปสู่การจ าหน่าย โดยผลผลิตนั้นจะเก็บได้ในช่วงเดือนสิงหาคมและ
เดือนกันยายนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการตั้งกลุ่มอนุรักษ์ต้นหยี และก าหนดกฎในการดูแลรักษา จากการ
ที่อ าเภอยะรังเป็นแหล่งต้นหยีมากมายหลายพันต้นเป็นพืชพื้นถิ่นที่มีนัยส าคัญทางวัฒนธรรมและ
เศรษฐกิจของพื้นที่ ทางจังหวัดปัตตานีจึงได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนในปี 2562 และได้รับการประกาศขึ้น
ทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563 ในนาม “ลูกหยียะรัง”
3.3 พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green
Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่งที่
ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสารส าคัญที่น าไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องส าอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกในปี 2564
โดยด าเนินการภายใต้ตลาดน าการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะช่วย
ให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการด ารงชีพ จากฐานข้อมูล Agri-Map Online
จังหวัดปัตตานีมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพรได้หลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน
กระชายด า ไพล เป็นต้น
ขมิ้นชัน เป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ าดี
ไม่ชอบน้ าขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวนเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และมีรายได้
ระหว่างรอการเติบโตของไม้ผล ไม้ยืนต้น โดยพื้นที่จังหวัดปัตตานีมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกขมิ้นชัน
ที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 105,894 ไร่ กระจายอยู่ในอ าเภอสายบุรี อ าเภอยะหริ่ง
อ าเภอยะรัง อ าเภอกะพ้อ และอ าเภอปะนาเระ เป็นต้น
กระชายด า เป็นพืชที่ชอบที่ร่ม ดินร่วนซุยหรือเป็นดินปนทรายที่มีการระบายน้ าได้ดี
ชอบอากาศหนาวเย็น และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแบ่งเหง้า สามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่ถ้า
ต้องการให้หัวหรือเหง้ามีคุณภาพต้องปลูกและเก็บเกี่ยวตามฤดูกาล คือปลูกในช่วงเดือน
เมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม โดยพื้นที่จังหวัด