Page 32 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดปัตตานี
P. 32
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
25
ปัตตานีมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกกระชายด าที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 105,852 ไร่
กระจายอยู่ในอ าเภอสายบุรี อ าเภอยะหริ่ง อ าเภอยะรัง อ าเภอกะพ้อ และอ าเภอปะนาเระ เป็นต้น
ไพล เจริญได้ดีในดินร่วนซุย ปลูกง่าย ดูแลง่าย สามารถปลูกแซมระหว่างแปลงพืชหลักได้
โดยพื้นที่จังหวัดปัตตานีมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกไพลที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ
61,536 ไร่ อยู่ในอ าเภอยะหริ่ง อ าเภอยะรัง อ าเภอสายบุรี อ าเภอปะนาเระ และอ าเภอหนองจิก เป็นต้น
4. แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ
4.1 ยางพารา
1) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่ มีเนื้อที่
142,854 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอ าเภออ าเภอยะรัง อ าเภอสายบุรี และอ าเภอทุ่งยางแดง
ตามล าดับ ทั้งนี้ตามมาตรการยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี ( พ.ศ. 2560-2579) เน้นให้มีการเพิ่ม
ผลผลิตยางพาราต่อไร่ต่อปี จากปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 224 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 360 กิโลกรัมต่อไร่ ภายใน
ปี 2579 นั้น ควรมีการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ การคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพ
พื้นที่และต้านทานโรค การปรับปรุงบ ารุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การปลูกพืชแซม
และพืชคลุมดินให้เหมาะสมเพราะมีผลต่อการเจริญเติบโตของยาง การบ ารุงรักษา การใส่ปุ๋ยการตัดแต่งกิ่ง
และเทคนิคการกรีดยางให้มีปริมาณน้ ายางสูงมีคุณภาพและตรงตามมาตรฐาน เน้นการพัฒนาการตลาด
ในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง ส่งเสริมให้
เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีการบริหารงานแบบมืออาชีพและสามารถถ่ายทอด
กิจการให้กับคนรุ่นใหม่
2) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่
มีเนื้อที่ 133,884 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอ าเภอโคกโพธิ์ อ าเภอมายอ และอ าเภอยะรัง เกษตรกรยังคง
ปลูกยางพาราได้ผลดี ทั้งนี้ควรสนับสนุนให้มีเพิ่มผลผลิตยางพารา โดยเน้นการจัดการที่เหมาะสม
ในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับพื้นที่เหมาะสมสูง โดยเฉพาะการปรับปรุงบ ารุงดิน เน้นการพัฒนาการตลาด
ในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลางให้มากขึ้น
ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และปลูกยางพาราทดแทนในพื้นที่เดิมเช่นกัน
กับพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง พัฒนาตลาดและช่องทางจัดจ าหน่ายให้มากขึ้น โดยเน้นการแปรรูปยาง
หรือไม้ยางพาราเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจเน้นจากชุมชนที่เข้มแข็งเป็นพื้นที่ต้นแบบ
3) พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) แต่ปัจจุบันเกษตรกร
ยังคงใช้ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ ทั้งนี้ควรส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และหาพืชอื่น
ทดแทน เช่น ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่
ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตพืชผัก บริโภคในครัวเรือน หรือเข้าร่วมโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม
(Zoning by Agri-Map) เป็นต้น จัดหาตลาดให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชผักทดแทน โดยอาจเริ่มจาก
ตลาดชุมชน
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมส าหรับการปลูกยางพารา แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้ใช้
พื้นที่ปลูกยางพารา พบว่าเกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ทุเรียน มะพร้าว ข้าว ปาล์มน้ ามัน เป็นต้น
ในส่วนนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจถึงสถานการณ์ด้านการเกษตรในปัจจุบัน โดยเฉพาะยางพารา
เป็นพืชที่มีนโยบายลดพื้นที่ปลูกเนื่องจากมีปริมาณผลผลิตมากส่งผลให้ราคาตกต่ า แต่ในอนาคต