Page 25 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดปัตตานี
P. 25
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
18
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพพื้นที่ร่วมกับพื้นที่ปลูกพืชในปัจจุบัน พบว่าพื้นที่ที่ควร
พิจารณาให้มีการปรับเปลี่ยนไปปลูกทุเรียน คือ บริเวณที่เป็นพื้นที่ปลูกยางพารา (S3) 23,684 ไร่ และ
พื้นที่ปลูกข้าว (S3+N) 12,204 ไร่ (ตารางที่ 8)
ตารางที่ 8 พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตทุเรียน
ยางพารา ข้าว
อ าเภอ
S3 N รวม S3 N รวม
กะพ้อ 7,568 - 7,568 1,051 49 1,100
โคกโพธิ์ 2,359 - 2,359 3,266 25 3,291
ทุ่งยางแดง 9,570 - 9,570 693 110 803
ปะนาเระ - - - 854 506 1,360
มายอ 495 - 495 2,066 14 2,080
เมืองปัตตานี - - - - 336 336
แม่ลาน 986 - 986 580 6 586
ไม้แก่น - - - 109 4 113
ยะรัง 1,319 - 1,319 290 6 296
ยะหริ่ง - - - - 585 585
สายบุรี 1,387 - 1,387 1,164 302 1,466
หนองจิก - - - 147 41 188
รวม 23,684 - 23,684 10,220 1,984 12,204
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้
เกษตรกรปลูกทุเรียนต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผล
ผลิตที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกทุเรียนในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถน าไปสู่การต่อยอดโครงการที่
ส าคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นย า เป็นต้น
พื้นที่ปลูกทุเรียนในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกทุเรียนในที่ดินที่
ไม่มีข้อจ ากัดทางกายภาพต่อการปลูกทุเรียนซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่ส าคัญของจังหวัด
ปัตตานี โดยกระจายอยู่ในอ าเภอยะรัง อ าเภอสายบุรี อ าเภอโคกโพธิ์
พื้นที่ปลูกทุเรียนในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูกทุเรียนใน
ที่ดินที่มีข้อจ ากัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกทุเรียน เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความ
เป็นกรด เป็นด่าง ความชื้น โดยกระจายอยู่ในอ าเภอยะรัง อ าเภอโคกโพธิ์ อ าเภอมายอ
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกทุเรียน
มีต้นทุนที่ต่ า และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย