Page 21 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดปัตตานี
P. 21
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
14
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
ปลูกข้าวต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี
ซึ่งการปลูกข้าวในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถน าไปสู่การต่อยอดโครงการที่ส าคัญต่าง ๆ ได้ เช่น
เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นย า เป็นต้น
พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกข้าวในที่ดินที่ไม่มี
ข้อจ ากัดทางกายภาพต่อการปลูกข้าว ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกข้าวที่ส าคัญของจังหวัดปัตตานี
โดยกระจายอยู่ในอ าเภอยะรัง อ าเภอโคกโพธิ์ และอ าเภอมายอ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกข้าวในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูกข้าวในที่ดินที่มี
ข้อจ ากัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกข้าว เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรด เป็นด่าง
ความชื้น โดยกระจายอยู่ในอ าเภอโคกโพธิ์ อ าเภอหนองจิก และอ าเภอสายบุรี เป็นต้น
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุน
ให้เข้าร่วมโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกข้าว
มีต้นทุนต่ ากว่า และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
2.3 ทุเรียน
ทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดปัตตานีในล าดับที่ 3 จากฐานข้อมูลในแผนที่
เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 7 และภาพที่ 10 - 11)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกทุเรียน
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 379,295 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 33.66 ของ
พื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอ าเภอโคกโพธิ์ 78,300 ไร่ อ าเภอยะรัง 62,241 ไร่ อ าเภอสายบุรี
49,725 ไร่ เป็นต้น
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 93,659 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.31
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอ าเภอโคกโพธิ์ 20,692 ไร่ อ าเภอมายอ 17,591 ไร่ อ าเภอทุ่งยางแดง
14,152 ไร่ เป็นต้น
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 105,299 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
2.98 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายอยู่ในอ าเภอยะหริ่ง 23,783 ไร่ อ าเภอสายบุรี 22,925 ไร่
อ าเภอหนองจิก 22,726 ไร่ เป็นต้น
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 548,505 ไร่
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกทุเรียนในปัจจุบัน ซึ่งจ าแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
ได้ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 80,681 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 21.27 ของพื้นที่
ศักยภาพสูง กระจายตัวมากอยู่ในอ าเภอยะรัง 35,338 ไร่ อ าเภอสายบุรี 14,763 ไร่ อ าเภอโคกโพธิ์
9,624 ไร่ เป็นต้น