Page 13 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชุมพร
P. 13
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
8
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพพื้นที่ร่วมกับพื้นที่ปลูกพืชในปัจจุบัน พบว่า พื้นที่ที่ควร
พิจารณาให้มีการปรับเปลี่ยนไปปลูกปาล์มน้ำมัน คือ บริเวณที่เป็นพื้นที่ปลูกมะพร้าว (S3+N) 22,733 ไร่
และพื้นที่ปลูกทุเรียน (S3+N) 14,333 ไร่ (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตปาล์มน้ำมัน
มะพร้าว (ไร่) ทุเรียน (ไร่)
อำเภอ
S3 N รวม S3 N รวม
สวี 1,730 1,829 3,559 2,295 343 2,638
ละแม 26 80 106 778 9 787
ปะทิว 334 45 379 - 173 173
ท่าแซะ 1,656 325 1,981 - 1,223 1,223
พะโต๊ะ 35 - 35 5,458 - 5,458
หลังสวน 254 1,183 1,437 2,919 359 3,278
ทุ่งตะโก 206 763 969 510 55 565
เมืองชุมพร 6,167 8,100 14,267 - 210 210
รวม 10,408 12,325 22,733 11,960 2,372 14,332
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
ปลูกปาล์มน้ำมันต่อไป เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มี
คุณภาพดี ซึ่งการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้
เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
ในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกปาล์มน้ำมัน
ที่สำคัญของจังหวัด กระจายอยู่ในอำเภอสวี อำเภอหลังสวน และอำเภอละแม เป็นต้น
พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูก
ปาล์มน้ำมันในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน เช่น ความอุดม
สมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง และแหล่งน้ำ กระจายอยู่ในอำเภอเมืองชุมพร อำเภอหลังสวน
และอำเภอท่าแซะ เป็นต้น
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) โดยกระจายอยู่ใน
อำเภอปะทิว อำเภอท่าแซะ และอำเภอเมืองชุมพร ควรสนับสนุนให้เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่
เกษตรกรรม เช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยพิจารณาแหล่งรับซื้อ
ร่วมด้วย