Page 17 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชุมพร
P. 17
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
12
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
ปลูกยางพาราต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มี
คุณภาพดี ซึ่งการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้
เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือ พื้นที่ปลูกยางพาราในที่ดิน
ที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกยางพารา ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกยางพาราที่สำคัญ
ของจังหวัด กระจายอยู่อำเภอปะทิว อำเภอท่าแซะ และอำเภอเมืองชุมพร เป็นต้น
พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือ พื้นที่ปลูก
ยางพาราในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกยางพารา เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้น กระจายอยู่ในอำเภอปะทิว อำเภอท่าแซะ และอำเภอหลังสวน เป็นต้น
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) โดยกระจายอยู่ใน
อำเภอท่าแซะ อำเภอสวี และอำเภอปะทิว เป็นต้น ควรสนับสนุนให้เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่
เกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกยางพารามีต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทน
ที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
2.3 ทุเรียน
ทุเรียนพืชเศรษฐกิจหลักของชุมพรในลำดับที่ 3 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก
หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 7 และภาพที่ 10 - 11)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกทุเรียน
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 798,409 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 34.88
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอปะทิว 225,766 ไร่ อำเภอท่าแซะ 137,017 ไร่
และอำเภอหลังสวน 125,043 ไร่
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 589,063 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 25.73
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอท่าแซะ 201,940 ไร่ อำเภอสวี 104,131 ไร่
และอำเภอปะทิว 97,566 ไร่
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 205,468 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.98
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอพะโต๊ะ 63,563 ไร่ อำเภอหลังสวน
35,442 ไร่ และอำเภอสวี 33,616 ไร่
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 2,696,089 ไร่
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกทุเรียนในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
ได้ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 92,779 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 54.95 ของพื้นที่
เหมาะสมสูง กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอท่าแซะ 23,885 ไร่ อำเภอสวี 17,074 ไร่ และอำเภอเมืองชุมพร
15,193 ไร่