Page 8 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชุมพร
P. 8

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                3







                                  (2) พัฒนาจากกลุ่มหินตะกอนหรือหินแปรเนื้อละเอียดหรือหินในกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็น
                       หินดินดานและหินฟิลไลต์ ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกปานกลาง เนื้อดินเป็นดินเหนียว
                       ละเอียดถึงดินเหนียวปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีน้ำตาล น้ำตาลปนแดง และน้ำตาลปนเหลือง การระบายน้ำดี
                       พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน เช่น ชุดดินคลองเต็ง (Klt) ชุดดินนาทอน (Ntn) เป็นต้น

                                  (3) พัฒนาจากหินปูน ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็นดินเหนียว
                       ละเอียดถึงดินเหนียวปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีแดง น้ำตาล และน้ำตาลปนแดง การระบายน้ำดี พบเศษหิน
                       ปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน อาทิ ชุดดินอ่าวลึก (Ak)
                             6) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ทรัพยากรดิน

                       มีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่
                             ซึ่งได้แสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากของจังหวัดชุมพร ในภาพที่ 1 - 5
                         1.5  สภาพการใช้ที่ดิน

                             สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันของจังหวัดชุมพร จากฐานข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน
                       ของกรมพัฒนาที่ดิน (ตารางที่ 1)

                       ตารางที่ 1  สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันของจังหวัดชุมพร

                                                                                       เนื้อที่
                                        ประเภทการใช้ที่ดิน
                                                                                   ไร่           ร้อยละ
                            พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง                          124,615          3.31
                            พื้นที่เกษตรกรรม                                    2,564,597         68.30

                                พื้นที่นา                                          17,414          0.46
                                พืชไร่                                               5,841         0.16

                                ไม้ยืนต้น                                        2,078,854        55.35
                                ไม้ผล                                             428,335         11.41
                                พืชสวน                                                418          0.01

                                ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์             909          0.02
                                สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ                          32,826          0.87
                            พื้นที่ป่าไม้                                         965,684         25.71

                            พื้นที่น้ำ                                             34,013          0.90
                            พื้นที่เบ็ดเตล็ด                                       66,721          1.78
                                              รวม                               3,755,630        100.00


                       ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน, 2561
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13