Page 14 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดชุมพร
P. 14
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
9
2.2 ยางพารา
ยางพาราพืชเศรษฐกิจหลักของชุมพรในลำดับที่ 2 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก
หรือ Agri-Map Online สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 5 และภาพที่ 8 - 9)
1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกยางพารา
ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 323,818 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 14.15
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอปะทิว 104,802 ไร่ อำเภอท่าแซะ 96,613 ไร่
และอำเภอเมืองชุมพร 78,587 ไร่
ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 1,080,961 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
47.22 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวอยู่ในอำเภอปะทิว 214,76 ไร่ อำเภอท่าแซะ 175,385 ไร่
และอำเภอหลังสวน 172,124 ไร่
ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 193,084 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.44
ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอท่าแซะ 81,295 ไร่ อำเภอสวี 56,090 ไร่ และ
อำเภอปะทิว 21,980 ไร่
ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 691,120 ไร่
2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกยางพาราในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
ได้ดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 76,170 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 14.02 ของพื้นที่เพาะปลูก
ในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอปะทิว 51,624 ไร่ อำเภอท่าแซะ 13,806 ไร่
และอำเภอเมืองชุมพร 5,824 ไร่
(2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 274,002 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 50.45 ของพื้นที่
เพาะปลูกในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอปะทิว 100,739 ไร่ อำเภอละแม
38,239 ไร่ และอำเภอท่าแซะ 37,854 ไร่
(3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 57,008 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 10.50 ของพื้นที่
เพาะปลูกในชั้นความเหมาะสมต่าง ๆ กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอท่าแซะ 21,148 ไร่ อำเภอสวี
17,029 ไร่ และอำเภอปะทิว 11,421 ไร่
(4) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 135,931 ไร่
3) พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกยางพาราแต่ไม่ใช้พื้นที่ปลูก
พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินสำหรับการปลูกยางพารา และพื้นที่ปลูกยางพาราในชั้น
ความเหมาะสมต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่า จังหวัดชุมพรมีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือในระดับความเหมาะสมสูง (S1)
และความเหมาะสมปานกลาง (S2) รวมทั้งสิ้น 1,054,607 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกอำเภอ โดยอำเภอที่มีพื้นที่
ศักยภาพคงเหลือมากที่สุด ได้แก่ อำเภอท่าแซะ 220,338 ไร่ อำเภอปะทิว 167,199 ไร่ อำเภอเมืองชุมพร
152,856 ไร่ และอำเภอหลังสวน 150,786 ไร่ ตามลำดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) พื้นที่เหมาะสมสูงคงเหลือ (S1) มีเนื้อที่ 247,648 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 76.48 ของพื้นที่
เหมาะสมสูง พบมากในอำเภอท่าแซะ 82,807 ไร่ อำเภอเมืองชุมพร 72,763 ไร่ และอำเภอปะทิว
53,178 ไร่