Page 27 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดตราด
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               20








                       3.  พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด

                            3.1  สับปะรดตราดสีทอง เป็นสินค้าเกษตรบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications:
                       GI) ของจังหวัดตราด เป็นพันธุ์ที่มีการปลูกในพื้นที่จังหวัดตราด ส่วนใหญ่จะบริโภคผลสด เพราะมี
                       คุณสมบัติเอกลักษณ์คือ หวาน หอม กินได้ทั้งแกน เป็นสับปะรดสายพันธุ์ควีน ที่มีผลใหญ่รูป

                       ทรงกระบอก เปลือกบาง ผิวเปลือกสีเหลืองแกมเขียว เนื้อสีเหลืองทอง ไม่ฉ่ าน้ า เยื่อใยน้อย มีช่องว่าง
                       ในเนื้อ แกนกลางเล็กสม่ าเสมอ เนื้อ และแกนกรอบ รสหวาน มีกลิ่นหอม โดยมีการปลูกในบริเวณ
                       อ าเภอเมืองตราด อ าเภอเขาสมิง อ าเภอบ่อไร่ อ าเภอแหลมงอบ และอ าเภอคลองใหญ่ การขยายพื้นที่
                       ปลูกสับปะรดตราดสีทอง ควรค านึงถึงลักษณะภูมิอากาศและการจัดการน้ าในช่วงแล้ง เนื่องจากจะ

                       ส่งผลต่อผลผลิต ท าให้ผลผลิตเสียหาย อาการไส้แตกหรือผลระเบิด ซึ่งเกิดขึ้นได้ช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว
                       ที่เป็นผลมาจากสภาพอากาศที่มีช่วงแล้งและมีฝนตกอย่างฉับพลัน และการปลูกแซมในไม้ยืนต้น เช่น
                       ยางพาราหรือไม้ผล พืชหลักควรจะเป็นพืชที่ปลูกใหม่ที่ทรงพุ่มเล็กและยังไม่มีร่มเงา เพราะหาก

                       สับปะรดได้รับแสงแดดไม่เพียงพอจะมีผลต่อขนาดของผลผลิต
                            3.2  ทุเรียน เป็นไม้ผลยืนต้น ชอบอากาศร้อนชื้น ดินที่เหมาะสมเป็นดินร่วนปนทราย ระบาย

                       น้ าดี การกระจายของน้ าฝนมีช่วงแล้งต่อเนื่องน้อยกว่า 3 เดือนต่อปี ปัจจุบันเกษตรกรมีความสนใจ
                       ในการขยายพื้นที่ปลูกทุเรียน จากการโค่นต้นยางพารา และปาล์มน้ ามัน และไม้ผลชนิดอื่น แล้วหันมา
                       ปลูกทุเรียน เพราะก าลังเป็นความต้องการของตลาดทั้งในและนอกประเทศ ราคาดี ทุเรียนที่นิยมปลูก

                       ได้แก่ ทุเรียนพันธุ์กระดุม ทุเรียนพันธุ์ชะนี ทุเรียนหมอนทอง ทุเรียนพันธุ์ก้านยาว และ ทุเรียนชะนี
                       เกาะช้าง เป็นสินค้าเกษตรบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) ของจังหวัดตราด
                       ลักษณะเด่น ผลค่อนข้างรียาว หนามใหญ่และห่าง เปลือกปาง สีผิวออกสีน้ าตาลปนแดง
                       เนื้อทุเรียนหนา ผิวสัมผัสละเอียด แห้ง เหนียว มีสีเหลืองเข้มไปจนถึงสีเหลืองอมส้ม รสชาติหวานมัน
                       และมีกลิ่นหอม ปลูกเฉพาะในพื้นที่อ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ทั้งนี้การขยายพื้นที่ปลูกจ าเป็นต้อง

                       พิจารณาปัจจัยเรื่องน้ า สภาพพื้นที่ และความอุดมสมบูรณ์ของดินก่อนปลูก เนื่องจากมีอุปสรรคเป็น
                       ดินตื้น บางพื้นที่พบชั้นหินพื้นหรือก้อนกรวด และเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดิน เป็นอุปสรรคต่อการหยั่ง
                       ราก สภาพพื้นที่มีลักษณะราบเรียบถึงชัน (ความลาดชันร้อยละ 0 - 35) ท าให้เสี่ยงต่อการชะล้าง

                       พังทลายของดิน จ าเป็นต้องมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าอย่างเหมาะสม และเน้นปรับปรุงสมบัติ
                       ทางกายภาพของดินและเพิ่มธาตุอาหารในดิน

                            3.3  มะพร้าวน้ าหอม เป็นมะพร้าวพันธุ์ต้นเตี้ย พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย คือ
                       พันธุ์ก้นจีบ พันธุ์หมูสี ซึ่งจะให้ผลดกและเก็บเกี่ยวผลยาวนาน เป็นพืชที่ปลูกและดูแลรักษาง่าย
                       ให้ผลผลิตได้เร็ว สามารถเริ่มเก็บผลผลิตขายได้หลังปลูกประมาณ 3 ปี ล าต้นมีขนาดเล็ก มีโคนต้น

                       ไม่มีสะโพกหรือมีเพียงเล็กน้อย เจริญเติบโตไปทางความสูงอย่างช้า ๆ โตเต็มที่ไม่เกิน 12 เมตร
                       มะพร้าวชอบแสงแดดจัด ควรเป็นดินร่วนหรือร่วนปนทราย อุ้มน้ าได้ดี ถ้าเป็นดินเหนียวต้องมี
                       การระบายน้ าดี แต่ดินที่เหมาะสมที่สุดคือ ดินตะกอนแม่น้ า ผลของมะพร้าวมีลักษณะทรงกลม หรือ
                       ทรงรี มีเนื้อนุ่ม ให้รสชาติหวาน มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย

                            3.4  กาแฟ ส าหรับสายพันธุ์ที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธุ์ คือ กาแฟอาราบิก้าและกาแฟโรบัสต้า

                       โดยสายพันธุ์ที่เหมาะสมและเป็นที่นิยมในจังหวัดตราดคือ กาแฟโรบัสต้า จากข้อมูลส านักงาน
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32