Page 24 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดตราด
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               17








                            2.4  มังคุด
                                 มังคุดเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดตราดในล าดับที่ 4 จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตร

                       เชิงรุก หรือ Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 8 และภาพที่ 12 – 13)
                                 1)  การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกมังคุด พบเพียงพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
                       เล็กน้อย (S3) และไม่เหมาะสม (N) เท่านั้น มีรายละเอียดดังนี้

                                     ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 761,404 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       61.37 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอ าเภอเขาสมิง 290,763 ไร่ อ าเภอเมือง
                       ตราด 252,902 ไร่ และอ าเภอบ่อไร่ 139,882 ไร่
                                     ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 479,271 ไร่

                                 2)  การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกมังคุดในปัจจุบัน ซึ่งจ าแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
                       ได้ดังนี้
                                     (1) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 66,123 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.68 ของพื้นที่
                       ศักยภาพเล็กน้อย กระจายตัวมากอยู่ในอ าเภอเขาสมิง 31,270 ไร่ อ าเภอเมืองตราด 20,677 ไร่ และ

                       อ าเภอบ่อไร่ 11,772 ไร่
                                     (2) พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 5,967 ไร่
                                 3)  พื้นที่มีศักยภาพคงเหลือ คือ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกมังคุดแต่ไม่ใช้พื้นที่ปลูก
                       พิจารณาจากพื้นที่ศักยภาพของที่ดินส าหรับการปลูกมังคุด และพื้นที่ปลูกมังคุดในชั้นความเหมาะสม

                       ต่าง ๆ (ปลูกจริง) พบว่าจังหวัดตราดไม่มีพื้นที่ศักยภาพคงเหลือ
                                 4)  แนวทางการจัดการ พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ
                       N) ควรสนับสนุนให้เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความ

                       เหมาะสมกว่าการปลูกมังคุด มีต้นทุนที่ต่ า และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณา
                       แหล่งรับซื้อร่วมด้วย
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29