Page 29 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดตราด
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               22








                       4.  แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ

                            4.1  ยางพารา
                                 1)  พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่

                       มีเนื้อที่ 8,829 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอ าเภอเมืองตราด อ าเภอเขาสมิง และอ าเภอบ่อไร่ ตามล าดับ
                       ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่ง
                       ปลูกยางพาราคุณภาพดีที่ส าคัญของจังหวัด ควรมีการจัดการที่เหมาะสม การปรับปรุงบ ารุงดิน
                       การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การปลูกพืชแซมและพืชคลุมดินให้เหมาะสมเพราะมีผลต่อ

                       การเจริญเติบโตของยางพารา การบ ารุงรักษา การใส่ปุ๋ยการตัดแต่งกิ่ง และเทคนิคการกรีดยางให้
                       มีปริมาณน้ ายางสูงมีคุณภาพและตรงตามมาตรฐาน เน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับ
                       ซื้อโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูงส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่มี
                       ความเข้มแข็ง มีการบริหารงานแบบมืออาชีพและสามารถถ่ายทอดกิจการให้กับคนรุ่นใหม่

                                 2)  พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพารา
                       อยู่ มีเนื้อที่ 339,330 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอ าเภอเขาสมิง อ าเภอเมืองตราด และอ าเภอบ่อไร่
                       เป็นต้น เกษตรกรยังคงปลูกยางพาราได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาโครงสร้างของดิน การสนับสนุน
                       อินทรียวัตถุจะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ควรสนับสนุนให้เพิ่มผลผลิตยางพารา

                       โดยเน้นการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกับพื้นที่เหมาะสมสูง โดยเฉพาะการปรับปรุง
                       บ ารุงดิน ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และปลูกยางพาราทดแทนในพื้นที่เดิม
                       เช่นกันกับพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง เน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงาน

                       แปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลางให้มากขึ้น พัฒนาตลาดและช่องทางจัดจ าหน่าย
                       ให้มากขึ้น โดยเน้นการแปรรูปยางหรือไม้ยางพาราเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจเน้นจากชุมชนที่เข้มแข็ง
                       เป็นพื้นที่ต้นแบบ
                                 3)  พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร

                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ าซาก เช่น น้ าท่วม ขาดน้ า ผลผลิตต่ า
                       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ท ากินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับ

                       โครงสร้างที่ดิน สนับสนุนแหล่งน้ า ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม เป็นการสร้าง
                       รายได้ และผลิตอาหารเพื่อบริโภค
                                 4)  พื้นที่ที่มีศักยภาพ หรือมีความเหมาะสมส าหรับการปลูกยางพารา แต่เกษตรกร

                       หันมาปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ปาล์มน้ ามัน มะพร้าว ไม้ผล ไม้ยืนต้นอื่น ๆ ควรเน้นให้เกษตรกร
                       ปลูกพืชดังกล่าวต่อไป เนื่องจากปัจจุบันตามมาตรการยุทธศาสตร์ยางพารา เน้นการลดพื้นที่การปลูก
                       ยางพาราอยู่แล้ว ฉะนั้นควรสร้างความตระหนักให้เกษตรกร เน้นการท าการเกษตรแบบผสมผสาน

                       หรือการเข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ หรือวนเกษตร เพื่อท าให้เกษตรกรสามารถใช้พื้นที่
                       อย่างคุ้มค่ามากที่สุดต่อไป
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34