Page 36 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดจันทบุรี
P. 36
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
29
4.2 มังคุด
1) พื้นที่ปลูกมังคุดที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกมังคุดอยู่ มีเนื้อที่
126,848 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอ าเภอท่าใหม่ อ าเภอเขาคิชฌกูฏ และอ าเภอมะขาม ตามล าดับ
ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่ง
ผลิตมังคุดคุณภาพดีที่ส าคัญของจังหวัด ควรมีการจัดการดิน ปุ๋ย และส่งเสริมการรวมกลุ่มของ
เกษตรกร เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ การพัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาดทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศ ส่งเสริมการแปรรูป แหล่งทุน ตลอดจนการสนับสนุน การขอมาตรฐานสินค้า
เกษตรอินทรีย์ และ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP)
2) พื้นที่ปลูกมังคุดที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกมังคุดอยู่ มีเนื้อที่
46,519 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอ าเภอท่าใหม่ อ าเภอนายายอาม และอ าเภอมะขาม เกษตรกรยังคงปลูก
มังคุดได้ผลดี แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่ปลูกมังคุดหลายแห่งประสบปัญหาขาดน้ าในบางช่วง เนื่องจาก
เป็นไม้ผลมีความต้องการการใช้น้ าในปริมาณที่มาก ภาครัฐควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ า
เช่น ชลประทาน แหล่งน้ าในไร่นานอกเขตชลประทาน
3) พื้นที่ปลูกมังคุดในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้
ที่ดินปลูกมังคุดอยู่ พื้นที่ดังกล่าวอาจประสบปัญหาด้านดินและน้ า ส่งผลให้ผลผลิตต่ า กระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ท ากินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน สนับสนุน
แหล่งน้ า ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสม ในกรณีที่มังคุดถึงอายุต้องโค่นทิ้ง ทั้งนี้
เกษตรกรสามารถเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิต
อาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map)
เป็นการสร้างรายได้ และผลิตอาหารเพื่อบริโภค
4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมส าหรับการปลูกมังคุด แต่ปัจจุบันเกษตรกร
ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกมังคุด ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชไร่ ในอนาคตสามารถกลับมาปลูกมังคุดได้อีก
แต่หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น อาจเป็นเรื่องยาก ต้องรอจนพืชเดิมครบอายุตัดโค่น แต่ทั้งนี้ต้อง
พิจารณาต้นทุนการผลิตร่วมด้วย ภาครัฐควรประชาสัมพันธ์และสร้างมาตรการจูงใจให้เกษตรกร
กลับมาปลูกมังคุดในพื้นที่นี้ หรือท าในรูปแบบสวนผสมระหว่างไม้ผลเขตร้อน เช่น เงาะ ทุเรียน
ลองกอง เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาลักษณะทางการตลาดร่วมด้วย