Page 35 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดจันทบุรี
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               28








                       4  แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ

                         4.1  ยางพารา

                                1) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันมีการปลูกยางพารามีเนื้อที่
                       50,784 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอ าเภอเขาคิชฌกูฏ อ าเภอท่าใหม่ และอ าเภอนายายอาม ตามล าดับ

                       ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่ง
                       ปลูกยางพาราคุณภาพดีที่ส าคัญของจังหวัด ควรมีการจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์คุณภาพดี การบ ารุงรักษา

                       การใส่ปุ๋ยการตัดแต่งกิ่ง และเทคนิคการกรีดยางให้มีปริมาณน้ ายางสูงมีคุณภาพและตรงตามาตรฐาน
                       เน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง

                       ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีการบริหารงานแบบมืออาชีพและสามารถ
                       ถ่ายทอดกิจการให้กับคนรุ่นใหม่

                             2) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่

                       มีเนื้อที่ 223,496 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอ าเภอท่าใหม่ อ าเภอสอยดาว และอ าเภอนายายอาม ตามล าดับ
                       เกษตรกรยังคงปลูกยางพาราได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาโครงสร้างของดิน ควรสนับสนุนให้มีเพิ่ม

                       ผลผลิตยางพารา โดยเน้นการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับพื้นที่เหมาะสมสูง
                       โดย เฉพาะการปรับปรุงบ ารุงดิน ส่งเสริมการปลูกพืชแซมและพืชคลุมดินให้เหมาะสมเพราะมีผลต่อ
                       การเจริญเติบโตของยางพารา


                             3) พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคง
                       ใช้ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และหาพืชอื่นทดแทน

                       เช่น ส่งเสริมให้ปลูกไม้ผล มะพร้าว ไผ่หวาน พืชไร่ และพืชผักต่าง ๆ ทดแทน ให้การช่วยเหลือเกษตรกร
                       ที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตพืชผัก บริโภคในครัวเรือน หรือ

                       เข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น

                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมส าหรับการปลูกยางพารา แต่ปัจจุบันเกษตรกร
                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกยางพารา พบว่าเกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

                       มันส าปะหลัง เป็นต้น ในส่วนนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจถึงสถานการณ์ด้านการเกษตรในปัจจุบัน
                       โดยเฉพาะยางพาราเป็นพืชที่มีนโยบายลดพื้นที่ปลูกเนื่องจากมีปริมาณผลผลิตมากส่งผลให้ราคาตกต่ า
                       แต่ในอนาคตถ้าราคาดีและตลาดมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นอาจอาจสนับสนุนให้เกษตรกรกลับมาปลูก

                       ยางพาราในพื้นที่ดังกล่าว
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40