Page 34 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดจันทบุรี
P. 34
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
27
3.5 พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green
Economy) หรือเศรษฐกิจชีวภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่งที่
ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสารส าคัญที่น าไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องส าอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกในปี 2564
โดยด าเนินการภายใต้ตลาดน าการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะช่วย
ให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการด ารงชีพ จากฐานข้อมูล Agri-Map
Online จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพรได้หลายชนิด เช่น
ขมิ้นชัน กระชายด า บัวบก และไพล เป็นต้น
1) ขมิ้นชัน เป็นไม้ล้มลุก มีล าต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง
เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ดอน ที่มีการระบายน้ าดี ไม่ชอบน้ าขัง ขมิ้นชันสามารถปลูกแซมในสวนเป็นการ
ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ โดยพื้นที่จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกขมิ้นชันที่ระดับความ
เหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 466,371 ไร่ กระจายอยู่ในอ าเภอสอยดาว อ าเภอเขาคิชฌกูฏ อ าเภอโป่ง
น้ าร้อน อ าเภอท่าใหม่ อ าเภอมะขาม อ าเภอเมืองจันทบุรี อ าเภอนายายอาม อ าเภอแก่งหางแมว และ
อ าเภอขลุง
2) กระชายด า เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุยืนและเป็นพืชที่ตอบสนองต่อช่วงแสง เจริญได้ดีในดินร่วนซุย
ปลูกง่าย ดูแลง่าย เป็นพืชที่ชอบสภาพแสงร าไร สามารถปลูกแซมระหว่างแปลงพืชหลักได้ โดยพื้นที่
จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกกระชายที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 374,260 ไร่
กระจายอยู่ในอ าเภอสอยดาว อ าเภอเขาคิชฌกูฏ อ าเภอโป่งน้ าร้อน อ าเภอท่าใหม่ อ าเภอมะขาม
อ าเภอเมืองจันทบุรี อ าเภอนายายอาม และอ าเภอแก่งหางแมว
3) บัวบก เป็นไม้ล้มลุกขึ้นรวมกันเป็นกอติดดิน ล าต้นเลื้อยตามดิน มีลักษณะกลมและ
มีรากงอกตามข้อของล าต้นใบและรากออกตามข้อ บัวบกสามารถขึ้นได้ดีทั้งในที่ร่ม และที่โล่งแจ้ง
เป็นพืชที่ไม่ชอบแสงแดดจัด แต่ต้องการแสงมาก จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีความอุดม
สมบูรณ์ และมีความชื้นในดินพอเหมาะ โดยพื้นที่จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกบัวบก
ที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 305,820 ไร่ กระจายอยู่ในอ าเภอสอยดาว อ าเภอเขาคิชฌกูฏ
อ าเภอโป่งน้ าร้อน อ าเภอท่าใหม่ อ าเภอมะขาม อ าเภอเมืองจันทบุรี อ าเภอนายายอาม อ าเภอแก่งหาง
แมว อ าเภอแหลมสิงห์ และอ าเภอขลุง
4) ไพล เป็นไม้ล้มลุก มีล าต้นใต้ดินประเภทไรโซม (Rhizome) เจริญได้ดีในดินร่วนซุย หรือดิน
เหนียวปนทราย มีการระบายน้ าดี ต้องการอินทรียวัตถุสูง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) 5.5
- 6.5 สามารถปลูกร่วมกับไม้ผล หรือไม้ยืนต้นเนื่องจากไพลชอบมีร่มเงาร าไร ขยายพันธุ์โดยใช้เหง้า
แก่ โดยพื้นที่จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกไพลที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ
2,122 ไร่ กระจายอยู่ในอ าเภอสอยดาว อ าเภอเขาคิชฌกูฏ อ าเภอโป่งน้ าร้อน อ าเภอ
ท่าใหม่ อ าเภอมะขาม อ าเภอเมืองจันทบุรี อ าเภอนายายอาม และอ าเภอขลุง