Page 33 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 33
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
26
4. แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ
4.1 มะพร้าว
1) พื้นที่ปลูกมะพร้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกมะพร้าวอยู่
มีเนื้อที่ 290,255 ไร่ อยู่ใน 4 อำเภอ คือ อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย
และอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ เกษตรกรยังคงปลูกมะพร้าวได้ผลดี แต่ประสบปัญหาขาดน้ำ
เนื่องจากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ทำให้ผลผลิตไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเพิ่ม
ผลผลิตมะพร้าว ทั้งนี้ควรมีการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร พื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสม
สำหรับการเกษตรแบบผสมผสาน หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ หรือสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต
ในรูปแบบแปลงใหญ่ โดยสนับสนุนการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อพัฒนาศักยภาพของที่ดินให้มีความเหมาะสม
ต่อการปลูกมะพร้าวมากยิ่งขึ้น สนับสนุนมะพร้าวพันธุ์ดีที่ทนต่อโรคและแมลงศัตรูมะพร้าวรวมถึง
ให้ความรู้ในการกำจัด สนับสนุนการจัดตั้งแหล่งรับซื้อผลผลิตมะพร้าวในพื้นที่ และเชื่อมโยงการตลาด
โดยมีตลาดรับซื้อผลผลิตมะพร้าวสำรอง ที่สามารถรองรับผลผลิตทางการเกษตรในช่วงที่ผลผลิตล้นตลาด
หรือเกินกำลังผลิตของโรงงานแปรรูปในพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมทั้งพัฒนาสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็ง
และเป็น Smart Farmer โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเป็นฟาร์มหรือ
แปลงเกษตรอัจฉริยะ
2) พื้นที่ปลูกมะพร้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้ที่ดิน
ปลูกมะพร้าวอยู่ มีเนื้อที่ 119,685 ไร่ กระจายตัวอยู่ในทุกอำเภอ ซึ่งประสบปัญหาขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ
ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกมะพร้าวเป็นพืชเชิงเดี่ยวมีการเลี้ยงวัวในสวน
มะพร้าวเพียงหวังจะอาศัยมูลวัวเป็นปุ๋ยในสวนมะพร้าว เกษตรกรส่วนหนึ่งก็ใส่ปุ๋ยมูลไก่ แต่ไม่เพียงพอ
ต่อการเจริญเติบโตของมะพร้าว ประกอบกับอายุมะพร้าวที่ปลูกไว้มีอายุประมาณ 50-60 ปี สวนมะพร้าว
จะมีลักษณะโล่งโปร่ง ผลผลิตก็น้อยลง จึงควรมีแนวส่งเสริมการผลิต โดยให้ชาวสวนมะพร้าวปลูก
มะพร้าวทดแทนในพื้นที่ระหว่างต้น หรือปลูกแซมระหว่างแถว ต้นมะพร้าวที่มีอยู่เดิม ถ้าเรามีประชากร
มะพร้าวรุ่นใหม่เกิดขึ้น ประมาณ 6-7 ปีข้างหน้า ก็จะมีผลผลิตมะพร้าวเพิ่มขึ้นมา และต้องใช้
เทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตมะพร้าว คือ การใส่ปุ๋ย ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการ
เพิ่มผลผลิตมะพร้าว นอกจากนี้ควรมีแหล่งน้ำสำรองไว้เมื่อมีภาวะฝนทิ้งช่วง ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าวอยู่ใน
พื้นที่ไม่เหมาะสม ควรให้ความรู้เกษตรกรในการปรับเปลี่ยนชนิดพืชให้เหมาะสมตรงตามศักยภาพของดิน
สนับสนุนให้เข้าร่วมโครงการ ต่าง ๆ เช่น Zoning by Agri-Map โดยส่งเสริม สนับสนุน และจูงใจให้
เกษตรกรปรับเปลี่ยนชนิดสินค้าด้วยความสมัครใจ และเสนอเป็นเมนูทางเลือกที่แสดงโอกาสที่เกษตรกรจะ
ได้รับรายได้เพิ่มขึ้น และความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยนมาเป็นการผลิตที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่า และ
สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมถึงสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ