Page 34 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 34
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
27
3) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกมะพร้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกร
ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกมะพร้าว ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่อยู่แล้ว ในกรณี
ที่ปลูกไม้ยืนต้นชนิดอื่น หรือมีการปลูกไม้ผลชนิดอื่น การปรับเปลี่ยนพื้นที่ดังกล่าวมาปลูกมะพร้าว
เป็นเรื่องยาก เนื่องจากมะพร้าวเป็นพืชที่ใช้เวลานานกว่าจะให้ผลผลิตที่คุ้มทุน แต่หากพื้นที่ดังกล่าว
มีการปลูกพืชไร่ เช่น สับปะรดโรงงาน สามารถปลูกมะพร้าวในลักษณะระบบปลูกพืชผสม แต่ในอนาคต
เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนมาเป็นมะพร้าวหรือทำการเกษตรแบบผสผมผสานได้อีก
4.2 ยางพารา
1) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันเกษตรกรยังปลูกยางพารา
อยู่ มีเนื้อที่ 38,273 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากอยู่ในเขตอำเภอบางสะพานน้อย อำเภอบางสะพาน อำเภอ
เมืองประจวบคีรีขันธ์ และกระจายตัวในพื้นที่เล็ก ๆ ในอำเภอกุยบุรี อำเภอสามร้อยยอด อำเภอ
ปราณบุรี อำเภอทับสะแก และอำเภอหัวหิน ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการ
เสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งปลูกยางพาราคุณภาพดีที่สำคัญของจังหวัด ควรมีการ
จัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์คุณภาพดี โดยรวมกลุ่มเป็นเกษตรแปลงใหญ่ โดยการให้องค์ความรู้ ข้อมูลด้าน
การผลิตทางการเกษตรและเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อประสิทธิภาพการผลิต และการลดต้นทุนการ
ผลิต อีกทั้งภาครัฐควรสนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ และ GAP เนื่องจากเป็นพื้นที่
ศักยภาพสูง
2) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันเกษตรกรยังปลูก
ยางพาราอยู่ มีเนื้อที่ 106,065 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากอยู่ในเขตอำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย
อำเภอทับสะแก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ และกระจายตัวในพื้นที่เล็ก ๆ ในอำเภอกุยบุรี อำเภอสาม
ร้อยยอด อำเภอปราณบุรี และอำเภอหัวหิน เกษตรกรยังคงปลูกยางพาราได้ผลดี หลายแห่งประสบ
ปัญหาโครงสร้างของดิน และดินขาดความอุดมสมบูรณ์ พื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสมสำหรับ
การเกษตรแบบผสมผสาน หรือเกษตรทฤษฎีใหม่
3) พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 และ N) และในปัจจุบันเกษตรกรยังปลูก
ยางพาราอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น น้ำท่วม ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับ
โครงสร้างที่ดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ไม่เหมาะสม ควรให้ความรู้เกษตรกร
ในการปรับเปลี่ยนชนิดพืชให้เหมาะสมตรงตามศักยภาพของดิน โดยสนับสนุนให้เข้าร่วมโครงการ
ต่าง ๆ เช่น Zoning by Agri-Map โดยส่งเสริม สนับสนุน และจูงใจให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนชนิด
สินค้าด้วยความสมัครใจ ส่งเสริมแนะนำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์มาแล้ว และเสนอเป็นเมนูทางเลือกที่
แสดงโอกาสที่เกษตรกรจะได้รับรายได้เพิ่มขึ้น และความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยนมาเป็นการผลิต
ที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่า และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด