Page 35 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               28







                              4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกยางพารา แต่ปัจจุบันเกษตรกร
                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกยางพารา ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกมะพร้าวและสับปะรดโรงงาน ที่มีความเหมาะสม

                       กับพื้นที่ดังกล่าวและสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรอยู่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีความมั่นใจ
                       มากกว่าการปลูกยางพารา ในส่วนนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจถึงสถานการณ์ด้านการเกษตร

                       ในปัจจุบัน โดยเฉพาะยางพารา จากปัญหาราคายางพาราที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงมีนโยบาย

                       ควบคุมปริมาณการผลิตยางพาราผ่านโครงการต่าง ๆ ได้แก่ โครงการตัดโค่นต้นยางพาราที่มีอายุมาก
                       เพื่อปลูกทดแทนหรือเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น โครงการทวงคืนพื้นที่ป่าที่เป็นสวนยางพารา และ

                       โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม โดยให้ความสำคัญ
                       ในการพิจารณาให้สินเชื่อกับเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยที่ตัดโค่นต้นยางพาราบางส่วนเพื่อลดจำนวน

                       ต้นยางพารา เป็นต้น แต่ในอนาคตถ้าราคาดีและตลาดมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นอาจสนับสนุน

                       ให้เกษตรกรกลับมาปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าว
                         4.3 สับปะรดโรงงาน


                              1) พื้นที่ปลูกสับปะรดโรงงานที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันเกษตรกรยังปลูก
                       สับปะรดโรงงานอยู่ มีเนื้อที่ 77,201 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากอยู่ในเขตอำเภอหัวหิน อำเภอเมือง

                       ประจวบคีรีขันธ์ อำเภอปราณบุรี อำเภอกุยบุรี และกระจายตัวในพื้นที่เล็ก ๆ ใน อำเภอสามร้อยยอด

                       อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน และอำเภอบางสะพานน้อย ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมพัฒนาที่ดิน
                       จังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งปลูกสับประรดโรงงานคุณภาพดี

                       ที่สำคัญของจังหวัด ควรมีการจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์คุณภาพดี สนับสนุนการรวมกลุ่มเป็นเกษตร

                       แปลงใหญ่ สร้างเครือข่ายในรูปแบบของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชน กับโรงงานแปรรูป
                       สับปะรดโรงงาน ให้ความรู้เรื่องการเก็บเกี่ยวสับปะรดโรงงานที่ได้คุณภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

                       การผลิตและพัฒนาให้เกษตรกรเพาะปลูกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) เนื่องจากสับปะรด

                       โรงงานเป็นพืชไร่อายุยาว สามารถปลูกได้นาน 1-3 ปี จึงควรประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แนวทาง
                       การบริหารจัดการสับปะรดโรงงานให้แก่เกษตรกร อย่างถูกวิธี


                              2) พื้นที่ปลูกสับปะรดโรงงานที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันเกษตรกร
                       ยังปลูกสับปะรดโรงงานอยู่ มีเนื้อที่ 136,171 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากอยู่ในเขตอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์

                       อำเภอกุยบุรี อำเภอสามร้อยยอด อำเภอหัวหิน กระจายตัวในพื้นที่เล็ก ๆ ใน อำเภอปราณบุรี อำเภอ
                       บางสะพาน อำเภอทับสะแก และอำเภอบางสะพานน้อย เกษตรกรยังคงปลูกสับปะรดโรงงานได้ผลดี

                       หลายแห่งประสบปัญหาโครงสร้างของดิน ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ แหล่งน้ำไม่เพียงพอ

                       ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ เช่น ชลประทาน แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน
                       สนับสนุนพันธุ์สับปะรดโรงงานที่ได้รับการรับรอง จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูก
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40