Page 36 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               29







                       สับปะรดโรงงาน  และภาครัฐควรให้ความรู้แนวทางการบริหารจัดการสับปะรดโรงงานให้แก่เกษตรกร
                       พร้อมทั้งแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หรือถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืช

                       ที่มีผลตอบแทนดีกว่าและมีต้นทุนต่ำกว่า พื้นที่ในเขตนี้ มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตรแบบ
                       ผสมผสาน หรือเกษตรทฤษฎีใหม่


                              3) พื้นที่ปลูกสับปะรดโรงงานในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 และ N) และในปัจจุบันเกษตรกร
                       ยังปลูกสับปะรดโรงงานอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาซ้ำซาก เช่น น้ำท่วม ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ

                       ดินขาดความอุดมสมบูรณ์  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้

                       โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ไม่เหมาะสม
                       ควรให้ความรู้เกษตรกรในการปรับเปลี่ยนชนิดพืชให้เหมาะสมตรงตามศักยภาพของดิน โดยสนับสนุน

                       ให้เข้าร่วมโครงการ ต่าง ๆ เช่น Zoning by Agri-Map โดยส่งเสริม สนับสนุน และจูงใจให้เกษตรกร
                       ปรับเปลี่ยนชนิดสินค้าด้วยความสมัครใจ ส่งเสริมแนะนำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์มาแล้ว และเสนอเป็นเมนู

                       ทางเลือกที่แสดงโอกาสที่เกษตรกรจะได้รับรายได้เพิ่มขึ้น และความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยนมาเป็น

                       การผลิตที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่า และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมถึงสนับสนุนการปรับ
                       โครงสร้างที่ดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ

                              4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกสับปะรดโรงงาน แต่ปัจจุบัน

                       เกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกสับปะรดโรงงาน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกมะพร้าวและยางพารา
                       ที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ดังกล่าวและสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรอยู่แล้ว ประกอบกับเกษตรกร

                       มีความมั่นใจมากกว่าการปลูกสับปะรดโรงงาน แต่ในอนาคตเกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยน
                       มาเป็นสับปะรดหรือสามารถปลูกสับปะรดในลักษณะระบบปลูกพืชผสม หรือการเกษตรแบบ

                       ผสมผสานได้อีก

                         4.4 ปาล์มน้ำมัน
                              ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจหลักลำดับที่ 4 ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์แต่ปัจจุบันปลูก

                       อยู่ในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 และ N) รวม 137,320 ไร่ จากอุปสรรคความชื้นไม่เพียงพอ เกษตรกร
                       ไม่มีแหล่งน้ำ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงไม่แนะนำให้มีการส่งเสริมการปลูกเพิ่ม เพราะจะประสบปัญหา

                       ต้นทุนการผลิตสูง และหากจัดการไม่ดีพอผลผลิตต่ำ ในพื้นที่ปลูกปัจจุบันนั้นควรเพิ่มประสิทธิภาพ

                       การผลิต เช่น ปรับปรุงดิน สร้างแหล่งน้ำเพิ่มเติม เป็นต้น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีพื้นที่ปลูกปาล์ม
                       น้ำมันกระจายตัวอยู่ในทุกอำเภอ ในอนาคตพื้นที่เหล่านี้เมื่อต้นปาล์มน้ำมันหมดอายุแล้ว

                       ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชนิดอื่นที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ เช่น มะพร้าว สับปะรดโรงงาน

                       หรือทำเกษตรผสมผสาน หรือเสนอเป็นเมนูทางเลือกที่แสดงโอกาสที่เกษตรกรจะได้รับรายได้
                       ที่เพิ่มขึ้น และความเป็นไปได้ในการปรับเปลี่ยนมาเป็นการผลิตที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่า ที่สอดคล้อง

                       กับความต้องการของตลาด
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41