Page 28 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
21
ทั้งนี้ในการส่งเสริมการปลูกพืชจะพิจารณาเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพคงเหลือในระดับความ
เหมาะสมสูง (S1) และระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) เท่านั้นเนื่องจากสภาพพื้นที่ปลูกพืชตรง
ตามศักยภาพของดิน มีความเสี่ยงต่ำ ผลผลิตดี จึงควรส่งเสริมในพื้นที่ดังกล่าว
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพพื้นที่ร่วมกับพื้นที่ปลูกพืชในปัจจุบัน พบว่า พื้นที่ที่ควรส่งเสริม
ให้มีการปรับเปลี่ยนไปปลูกสับปะรดโรงงาน คือ บริเวณที่เป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน (S3+N) 126,319 ไร่
และพื้นที่ปลูกมะพร้าว (S3+N) 111,318 ไร่ (ตารางที่ 8)
ตารางที่ 8 พื้นที่มีศักยภาพในการขยายการผลิตสับปะรดโรงงาน
ปาล์มน้ำมัน (ไร่) มะพร้าว (ไร่)
อำเภอ
S3 N รวม S3 N รวม
กุยบุรี - 7,350 7,350 23,604 50 23,654
ทับสะแก - 4,901 4,901 3,106 - 3,106
บางสะพาน - 19,951 19,951 8,259 79 8,338
บางสะพานน้อย 18,831 34,839 53,670 3,862 367 4,229
ปราณบุรี - 5,740 5,740 5,129 474 5,603
เมืองประจวบคีรีขันธ์ - 14,117 14,117 51,296 10 51,306
สามร้อยยอด - 14,664 14,664 14,521 70 14,591
หัวหิน - 5,926 5,926 491 - 491
รวม 18,831 107,488 126,319 110,268 1,050 111,318
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
ปลูกสับปะรดโรงงานต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิต
ที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกสับปะรดโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการ
ที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกสับปะรดโรงงานในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกสับปะรดโรงงาน
ในที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกสับปะรดโรงงาน ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกสำคัญของจังหวัด
โดยกระจายอยู่ในอำเภอหัวหิน เมืองประจวบคีรีขันธ์ และบางสะพาน เป็นต้น