Page 32 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               25







                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด
                         3.1 ทุเรียนป่าละอู เป็นพันธุ์ทุเรียนหมอนทองและพันธุ์ชะนี  ที่มีลักษณะเด่น เมล็ดลีบเล็ก

                       เนื้อมาก เนื้อแห้งละเอียด สีเหลืองอ่อน มีความมันมากกว่าความหวาน หอม กรอบนอกนุ่มใน
                       มีพื้นที่ปลูกหลักอยู่ที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน ซึ่งบริเวณนี้สภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นหุบเขา

                       กลางวันร้อน กลางคืนอากาศเย็น จึงทำให้ทุเรียนมีคุณภาพดี ปัจจุบันปลูกมากบริเวณสองฝั่งลำน้ำ

                       ห้วยปราณบุรี การขยายพื้นที่ปลูกในเขตนี้ปัจจัยเรื่องน้ำและความอุดมสมบูรณ์ของดินยังเป็นเรื่อง
                       สำคัญที่ต้องพิจารณาก่อนปลูก ซึ่งลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย บางบริเวณมีเศษหิน

                       ปะปน เมื่อพิจารณาจากพื้นที่ในการส่งเสริมการปลูกทุเรียนควรส่งเสริมเฉพาะในพื้นที่เหมาะสม
                       ปานกลาง (S2) ซึ่งยังมีพื้นที่ที่มีศักยภาพ คงเหลือ จำนวน 262,316 ไร่ ส่วนมากกระจายอยู่ใน

                       อำเภอบางสะพานน้อย 195,805 ไร่ และ อำเภอบางสะพาน 66,511 ไร่

                         3.2 มะพร้าวทับสะแก เป็นมะพร้าวพันธุ์ไทยต้นสูง พันธุ์สวีลูกผสม และพันธุ์ผสมชุมพร มีผล

                       ใหญ่ รูปทรงกลม รีเล็กน้อย เปลือกหนา เนื้อมะพร้าวสีขาวหนา 2 ชั้น ให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง

                       รสชาติกะทิหอมมัน ปลูกในพื้นที่ อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย และ
                       อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ ผลผลิตเฉลี่ยรวม 302,807 ตัน/ปี


                         3.3 พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-
                       Green Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพร

                       เป็นเรื่องหนึ่งที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสารสำคัญที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ

                       เช่น การแพทย์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืช
                       ทางเลือกในปี 2564 โดยดำเนินการภายใต้ตลาดนำการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพร

                       ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการดำรงชีพ
                       จากฐานข้อมูล Agri-Map Online จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้

                       ปลูกพืชสมุนไพรได้หลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน ไพล เป็นต้น

                            ขมิ้นชัน เป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบาย
                       น้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวนเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และ

                       มีรายได้ระหว่างรอการเติบโตของยางพาราหรือปาล์มน้ำมัน โดยพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
                       มีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกขมิ้นชันที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 44,320 ไร่ กระจาย

                       อยู่ในอำเภอบางสะพานน้อย  อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก และอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์

                            ไพล เจริญได้ดีในดินร่วนซุย ปลูกง่าย ดูแลง่าย สามารถปลูกแซมระหว่างแปลงพืชหลักได้
                       โดยพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกไพลที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1)

                       ประมาณ 2,122 ไร่ อยู่ในอำเภอบางสะพานน้อย
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37