Page 28 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครปฐม
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               21








                       4  แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ


                         4.1 ข้าว
                               (1) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่มีเนื้อที่ 302,573
                       ไร่ กระจายอยู่ในทุกอ าเภอของจังหวัดนครปฐม โดยอ าเภอที่มีพื้นที่มากที่สุด ได้แก่ อ าเภอบางเลน
                       อ าเภอนครชัยศรี อ าเภอก าแพงแสน อ าเภอดอนตูม อ าเภอเมืองนครปฐม อ าเภอพุทธมณฑล และ

                       อ าเภอสามพราน ตามล าดับ ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการ
                       ใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตข้าวที่ส าคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ าชลประทาน การ
                       จัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าว โดยรวมกลุ่มเป็นระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบ
                       วงจรการตลาดในและต่างประเทศ การแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการท ามาตรฐานสินค้า

                       เกษตรอินทรีย์ และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good  Agricultural  Practices:  GAP) เนื่องจาก
                       เป็นพื้นที่ศักยภาพสูง การปลูกพืชหลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการปรับปรุงบ ารุง
                       ดิน ทั้งนี้ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะน าว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีความ
                       เหมาะสมต่อการปลูกข้าวจึงไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคาไม่ดีถ้าต้องการเปลี่ยน

                       ชนิดพืชควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ในอนาคตจะได้กลับมาท านาได้อีก
                             (2) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) พบว่า จังหวัดนครปฐมไม่มีการปลูก
                       ข้าวในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่มีข้อจ ากัดไม่มากนัก เช่น ปัญหา

                       ขาดน้ าในบางช่วงของการเพาะปลูก ซึ่งควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ า โดยเฉพาะระบบ
                       ชลประทาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นฐานไปท างานที่อื่น
                       จะลดลง และพื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสมส าหรับการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรแม่นย าหรือ
                       เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น
                             (3) พื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้ที่ดิน

                       ปลูกข้าวอยู่ 1,101 ไร่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอาจประสบปัญหาน้ าท่วมซ้ าซาก ขาดน้ า ผลผลิตต่ า กระทรวง
                       เกษตรและสหกรณ์ควรให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ท ากินในพื้นที่นี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม โดย
                       สนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบ ารุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ า ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่

                       ที่มีความเหมาะสม และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้า
                       โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
                             (4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมส าหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้
                       ใช้พื้นที่ปลูกข้าว โดยมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น อ้อยโรงงาน มะพร้าว เป็นต้น ทั้งนี้ หากพืชที่

                       ปลูกเป็นพืชไร่ และในอนาคตราคาผลผลิตข้าวเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรอาจกลับมาปลูกข้าวได้เหมือนเดิม
                       แต่หากเป็นไม้ผล/ไม้ยืนต้น การกลับมาปลูกข้าวอาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้น อาจส่งเสริมในเรื่องของการ
                       ท าเกษตรรูปแบบอื่น เช่น ท าการเกษตรแบบผสมผสานทดแทน


                         4.2 อ้อยโรงงาน
                               (1) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกอ้อยโรงงานอยู่
                       มีเนื้อที่ 88,469 ไร่ มีพื้นที่ปลูกอยู่ในอ าเภอก าแพงแสน อ าเภอเมืองนครปฐม และอ าเภอดอนตูม

                       ตามแผนยุทธศาสตร์ส านักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ าตาลทราย พ.ศ. 2560-2564 มียุทธศาสตร์
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33