Page 27 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครปฐม
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               20








                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด

                         3.1  ส้มโอนครชัยศรี สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ เติบโตเร็ว ทนโรคและแมลง และเป็นพืชที่ได้รับ
                       ความนิยมและมีชื่อเสียงของจังหวัด ส้มโอนครชัยศรี หมายถึง ส้มโอพันธุ์ทองดีและพันธุ์ขาวน้ าผึ้ง
                       โดยส้มโอนครชัยศรีทั้งสองสายพันธุ์มีรสชาติคล้ายกัน คือ รสหวานอมเปรี้ยว เมื่อรับประทานแล้วไม่มี

                       รสขมและรสซ่า โดยลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนของส้มโอทั้งสองสายพันธุ์ คือ สีของเนื้อส้มโอ
                       พันธุ์ทองดีจะมีสีชมพูอมแดง เนื้อเรียงแน่น ฉ่ าและนิ่ม ส่วนพันธุ์ขาวน้ าผึ้ง มีเนื้อสีขาวคล้ายน้ าผึ้ง
                       เมื่อแก่จัดเนื้อแห้ง หากสังเกตจากลักษณะภายนอก ผลของส้มโอพันธุ์ทองดีมีลักษณะกลมแป้น
                       ผิวเรียบบาง สีเขียว และมีต่อมน้ ามันเล็กละเอียดกว่าพันธุ์ขาวน้ าผึ้งที่มีต่อมน้ ามันใหญ่กว่าและมี

                       ลักษณะผลกลมนูน บริเวณที่ปลูกส้มโอนครชัยศรีเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ านครชัยศรี เมื่อถึงปีน้ าหลาก
                       จะมีตะกอนดินมาทับถมขึ้นเรื่อยๆ และน าธาตุอาหารต่างๆ มารวมไว้ เรียกบริเวณนี้ว่า “น้ าไหลทรายมูล”
                       ทั้งนี้ พื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะเนื้อดินเป็นดินเหนียว สีน้ าตาล ดินชั้นบนมีลักษณะการทับถมเป็นชั้นๆ

                       ดินชั้นล่างจะมีสีน้ าตาลปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงด่าง มีค่า pH  6.5-8.0  ดินมี
                       ความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกส้มโอ ส้มโอนครชัยศรีได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้
                       ทางภูมิศาสตร์ หรือ Geographical Indications: GI ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547 โดยส้มโอ
                       นครชัยศรีจะต้องมีการปลูกในเขตพื้นที่อ าเภอนครชัยศรี อ าเภอพุทธมณฑล และอ าเภอสามพราน
                       จังหวัดนครปฐมเท่านั้น

                          3.2 พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green
                       Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่ง
                       ที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสารส าคัญที่น าไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์

                       ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องส าอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกในปี 2564 โดย
                       ด าเนินการภายใต้ตลาดน าการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะช่วยให้
                       เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการด ารงชีพ จากฐานข้อมูล Agri-Map  Online
                       จังหวัดนครปฐมมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพรได้หลายชนิด เช่น ขมิ้นชัน

                       บัวบก เป็นต้น
                              ขมิ้นชันเป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบาย
                       น้ าดี ไม่ชอบน้ าขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวนเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และมี
                       รายได้ระหว่างรอการเติบโตของพืชยืนต้น โดยพื้นที่จังหวัดนครปฐมมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูก

                       ขมิ้นชันที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 53,164 ไร่ กระจายอยู่ในอ าเภอสามพราน 40,399
                       ไร่ อ าเภอนครชัยศรี 10,131 ไร่ และอ าเภอพุทธมณฑล 2,634 ไร่
                              บัวบกเป็นพืชที่ปลูกง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย โดยเฉพาะพื้นที่ที่มี
                       ความชุ่มชื้นแต่มีการระบายน้ าดี โดยพื้นที่จังหวัดนครปฐมมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกไพลที่ระดับ

                       ความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 545,492 ไร่ กระจายอยู่ในทุกอ าเภอของจังหวัดนครปฐม  โดย
                       อ าเภอที่มีพื้นที่มากที่สุด ได้แก่ อ าเภอก าแพงแสน 186,988 ไร่ รองลงมา ได้แก่ อ าเภอเมืองนครปฐม
                       135,654 ไร่ อ าเภอสามพราน 95,425 ไร่ อ าเภอนครชัยศรี 78,592 ไร่ อ าเภอดอนตูม 28,302 ไร่

                       อ าเภอบางเลน 17,897 ไร่ และอ าเภอพุทธมณฑล 2,634 ไร่ ตามล าดับ
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32