Page 29 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครปฐม
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               22








                       ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัย การบริหารจัดการ  และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอุตสาหกรรมอ้อย
                       และอุตสาหกรรมน้ าตาลทราย เน้นให้มีการเพิ่มผลผลิตอ้อยโรงงานในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง แต่เน้นการ
                       ลดต้นทุนผลผลิต โดยส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์แบบคุณภาพสูง มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยการ
                       รณรงค์ลดการเผาตอซังเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดปัญหาภาวะโลกร้อน สนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                       คิดค้นเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องจักรเพื่อลดปัญหาแรงงานตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกร
                       รวมกลุ่มและเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และจัดหาปัจจัยการผลิตให้กับ
                       เกษตรกรรวมทั้งอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่มีการปรับปรุงบ ารุงดินโดยลดต้นทุนการผลิต พร้อมกับ
                       การส่งเสริมให้มีการปลูกอ้อยโรงงานที่มีสายพันธุ์ต้านทานโรค เพื่อสร้างความตระหนักและความรู้

                       ความเข้าใจให้กับเกษตรกรที่มีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูงในการปลูกอ้อยโรงงาน เพื่อแก้ไขปัญหาการ
                       ปรับเปลี่ยนพื้นที่
                               (2) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) แม้ว่าปัจจุบันจะไม่พบพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน
                       ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) แต่พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการปลูกอ้อย

                       โรงงานภายใต้ข้อจ ากัดบางประการ จึงควรพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้มากขึ้น ในเรื่องของคุณภาพ
                       ดินและการบริหารจัดการน้ า ให้มีเพียงพอและเหมาะสมต่อการเพาะปลูก สร้างความรู้ความเข้าใจ
                       ให้กับเกษตรกรในการจัดการพื้นที่ การปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่า

                       ของเสียจากโรงงานน้ าตาล  และการน าของเสียจากโรงงานน้ าตาลไปใช้ในการปรับปรุงบ ารุงดินในไร่
                       อ้อยเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยโดยไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม
                       และชุมชนชาวไร่อ้อย
                               (3) พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3  และ N) และปัจจุบัน
                       เกษตรกรยังคงใช้ที่ดินปลูกอ้อยโรงงานอยู่ 3,445 ไร่ สมควรที่จะให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือก

                       ปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าหรือใช้พื้นที่ผลิตพืชผัก โดยจัดหาตลาดให้กับเกษตรกรใน
                       การปลูกพืชผักทดแทน ซึ่งอาจเริ่มจากตลาดชุมชน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่
                       เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น

                               (4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมส าหรับการปลูกอ้อยโรงงานแต่เกษตรกรหันมา
                       ปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น มะพร้าว ข้าว เป็นต้น จึงควรสร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการบริหาร
                       จัดการพื้นที่ และการปรับปรุงบ ารุงดินไม่ให้เสื่อมโทรม หากเกษตรกรต้องการกลับมาใช้พื้นที่ปลูก
                       อ้อยโรงงานเหมือนเดิม จะได้ไม่ต้องมีต้นทุนการผลิตสูงในการปรับปรุงบ ารุงดิน


                         4.3  มะพร้าว
                               (1) พื้นที่ปลูกมะพร้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกมะพร้าวอยู่มีเนื้อที่

                       6,320 ไร่ มีพื้นที่ปลูกอยู่ในอ าเภอสามพราน อ าเภอนครชัยศรี อ าเภอเมืองนครปฐม อ าเภอบางเลน
                       และอ าเภอดอนตูม ทั้งนี้ โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดิน
                       โดยส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมะพร้าวพันธุ์ดีในพื้นที่เหมาะสมสูงต่อการปลูกมะพร้าว โดยสร้างทางเลือกใน
                       การพัฒนาการผลิตมะพร้าวตามความต้องการของแหล่งผลิตโดยอาจคัดเลือกพันธุ์ดีในท้องถิ่น มีการปลูก

                       มะพร้าวทดแทนในพื้นที่สวนที่อายุมาก เพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตมะพร้าวส าคัญของจังหวัด ส่งเสริมและ
                       พัฒนาความรู้ในการบริหารจัดการระบบการผลิตมะพร้าว ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมะพร้าวให้
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34