Page 30 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครปฐม
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               23








                       มีผลผลิตต่อพื้นที่สูง มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค โดยต้องรักษาระดับผลผลิตต่อไร่
                       ไม่ต่ ากว่า 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีการส่งเสริมให้ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพสินค้าหรือเพิ่มมูลค่าสินค้า
                       และมีการจัดการดิน ปุ๋ย ตลอดจนพันธุ์มะพร้าวที่ทนต่อโรคและแมลง โดยรวมกลุ่มเป็นระบบส่งเสริม
                       การเกษตรแบบแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดการตลาดในประเทศและต่างประเทศแบบครบวงจร มีการ

                       สนับสนุนแหล่งเงินทุนในการแปรรูป และการท ามาตรฐานสินค้าเกษตรตามแนวทางการปฏิบัติทางการ
                       เกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) จากหน่วยงานภาครัฐ น าเทคโนโลยีและนวัตกรรม
                       มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเป็นฟาร์มหรือแปลงเกษตรอัจฉริยะ โดยสร้างหรือน านวัตกรรมและวิทยาการ
                       สมัยใหม่มาใช้ในการเกษตร ใช้เทคโนโลยีเกษตรที่มีความแม่นย าทั้งแปลงผลิตพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตตรง

                       ตามความต้องการ ควบคุมคุณภาพผลผลิตมะพร้าวให้คงที่และสามารถวางแผนระบบการตลาดดีขึ้น
                               (2) พื้นที่ปลูกมะพร้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกมะพร้าวอยู่มี
                       เนื้อที่ 2,924 ไร่ มีพื้นที่อยู่ในอ าเภอสามพราน อ าเภอนครชัยศรี และอ าเภอพุทธมณฑล อย่างไรก็
                       ตาม ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตในระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และ

                       สนับสนุนการปรับปรุงบ ารุงดินเพื่อพัฒนาศักยภาพของที่ดินให้มีความเหมาะสมต่อการปลูกมะพร้าว
                       มากยิ่งขึ้น โดยสนับสนุนการใช้มะพร้าวพันธุ์ดีที่ทนต่อโรคและแมลง ร่วมกับการให้ความรู้ในการก าจัด
                       โรคแมลงศัตรูมะพร้าวที่เหมาะสม สนับสนุนการจัดตั้งแหล่งรับซื้อผลผลิตมะพร้าวในพื้นที่และ

                       เชื่อมโยงการตลาด โดยมีตลาดรับซื้อผลผลิตมะพร้าวส ารองที่สามารถรองรับผลผลิตทางการเกษตรใน
                       ช่วงที่ผลผลิตล้นตลาดหรือเกินก าลังผลิตของโรงงานแปรรูปในพื้นที่ใกล้เคียง พัฒนาสถาบันเกษตรกรให้
                       เข้มแข็งและเป็น Smart Farmer โดยน าเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเป็นฟาร์ม
                       หรือแปลงเกษตรอัจฉริยะ
                               (3) พื้นที่ปลูกมะพร้าวในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3  และ N) และปัจจุบันเกษตรกร

                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกมะพร้าวอยู่ 4,762 ไร่ ควรให้ความรู้เกษตรกรในการปรับเปลี่ยนชนิดพืชให้เหมาะสม
                       ตรงตามศักยภาพของพื้นที่ โดยสนับสนุนให้เข้าร่วมโครงการต่างๆ เช่น โครงการบริหารจัดการพื้นที่
                       เกษตรกรรม (Zoning  by  Agri-Map)  พร้อมทั้งจัดระบบการผลิตและการบริหารจัดการดิน น้ า ปุ๋ย

                       ที่เหมาะสมส าหรับมะพร้าว การสนับสนุนแหล่งน้ า และการส่งเสริมให้ความรู้ในการปรับปรุงบ ารุงดิน และ
                       การท าเกษตรผสมผสาน
                               (4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมส าหรับปลูกมะพร้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้
                       ใช้พื้นที่ในการปลูกมะพร้าว ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการปลูกไม้ยืนต้นชนิดอื่น เช่น ปาล์มน้ ามัน หรือไม้ผล

                       ชนิดอื่น การปรับเปลี่ยนพื้นที่ดังกล่าวมาปลูกมะพร้าวเป็นเรื่องยาก เนื่องจากมะพร้าวเป็นพืชที่ใช้
                       เวลานานกว่าจะให้ผลผลิตที่คุ้มทุน แต่หากพื้นที่ดังกล่าวมีการปลูกพืชไร่ เช่น อ้อยโรงงาน จะสามารถ

                       ปลูกมะพร้าวในลักษณะระบบปลูกพืชผสมกับพืชไร่ชนิดดังกล่าว หรือปลูกในลักษณะเกษตร
                       ผสมผสานได้


                         4.4 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง (S1) จังหวัดนครปฐมมีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง (S1)

                       ส าหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากถึง 217,810 แต่กลับพบว่า ไม่มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ใน
                       พื้นที่ดังกล่าว ดังนั้น คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดจึงสมควรเร่งรัดพิจารณาให้มีการเสนอ
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35