Page 31 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดนครปฐม
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               24








                       แผนการใช้ที่ดินเพื่อให้เป็นแหล่งปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ส าคัญ และมีการบริหารจัดการระบบน้ า การ
                       จัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยรวมกลุ่มเป็นระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่
                       พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาดในและต่างประเทศ การแปรรูป แหล่งทุน มีภาครัฐสนับสนุนการท า
                       มาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good  Agricultural  Practices:

                       GAP) เนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง และภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะน าว่า
                       ไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากราคาไม่ดีหรือประสบปัญหาโรคและแมลงรบกวนราคาไม่ดี
                       และเกษตรกรต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเปลี่ยนเป็นพืชไร่ เพื่อที่ในอนาคตจะได้กลับมาปลูกข้าวโพด
                       เลี้ยงสัตว์ได้อีก

                               (2) พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูก
                       ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ มีเนื้อที่ 1,719 ไร่ โดยมีพื้นที่อยู่ในอ าเภอก าแพงแสน และอ าเภอเมืองนครปฐม
                       ซึ่งควรสนับสนุนให้มีการบริหารจัดการระบบน้ า เช่น ชลประทาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับ
                       เกษตรกรในการใช้ที่ดิน ลดปัญหาการทิ้งถิ่นฐานไปท างานที่อื่น นอกจากนี้ พื้นที่ในเขตนี้ยังมีความ

                       เหมาะสมส าหรับการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรแม่นย าหรือเกษตรทฤษฎีใหม่ อีกด้วย อย่างไรก็ตาม
                       ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะน าว่า ไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น ทั้งนี้
                       หากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาไม่ดีและต้องการปรับเปลี่ยนการผลิตควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ว่า ในอนาคตยัง

                       สามารถกลับมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ดังเดิมได้อีก
                               (3) พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (N) และปัจจุบันเกษตรกร
                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ ควรให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ท ากินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุน
                       การปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบ ารุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ า ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความ
                       เหมาะสม และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการ

                       บริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
                               (4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมส าหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่ปัจจุบัน
                       เกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น มะพร้าว ข้าว เป็นต้น

                       ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชไร่ ถ้าในอนาคตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาดี เกษตรกรอาจกลับมาปลูกข้าวโพด
                       เลี้ยงสัตว์ได้เหมือนเดิม แต่หากเป็นไม้ผล/ไม้ยืนต้น การกลับมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อาจเป็นเรื่องยาก
                       ดังนั้นอาจส่งเสริมในเรื่องของการท าเกษตรรูปแบบอื่น เช่น ท าการเกษตรแบบผสมผสาน แต่ทั้งนี้ต้อง
                       พิจารณาต้นทุนการผลิตและการตลาดร่วมด้วย
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36