Page 44 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุบลราชธานี
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               37








                       การปลูก การดูแลรักษา การป้องกันโรค แมลงศัตรูพืช และการเก็บเกี่ยว ส่งเสริมการใช้ท่อนพันธุ์ที่
                       ต้านทานโรค และให้ผลผลิตสูง พัฒนาระบบน้ำหยดและการใช้น้ำจากแหล่งน้ำในพื้นที่ ให้มีการใช้
                       ประโยชน์กับมันสำปะหลังให้มากที่สุด ส่งเสริมเกษตรกรแปรรูปมันสำปะหลังเบื้องต้นเพื่อเพิ่มมูลค่า

                       เช่น การแปรรูปมันเส้นสะอาด ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวในช่วงอายุ และระยะเวลาที่เหมาะสม
                             (3) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบัน

                       เกษตรกรยังคงใช้ที่ดินปลูกมันสำปะหลังอยู่ ควรส่งเสริมและสร้างความรู้ความเข้าใจในการไถระเบิด
                       ดินดาน ให้เกษตรกรมีวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ลดต้นทุน ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืช

                       ชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อ บริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการ
                       โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น จัดหาตลาดให้กับเกษตรกร

                       ในการปลูกพืชไร่ หรือพืชผักทดแทน โดยอาจเริ่มจากตลาดชุมชน
                             (4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง พื้นที่ที่มีศักยภาพ
                       หรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกมันสำปะหลังแต่เกษตรกร หันมาปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ข้าว

                       ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ไม้ผล ไม้ยืนต้น หรือพืชไร่อื่น ๆ ควรสร้างความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการบริหาร
                       จัดการพื้นที่ และการปรับปรุงบำรุงดินไม่ให้เสื่อมโทรม

                             4.4  ปาล์มน้ำมัน

                             (1) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกปาล์มน้ำมันอยู่
                       มีเนื้อที่ 1,149 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอนาจะหลวย และอำเภอน้ำคณะอนุกรรมพัฒนาที่ดิน
                       จังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่สำคัญของจังหวัด

                       และมีการบริหารจัดการน้ำอย่างดี รวมทั้งการจัดการดินและปุ๋ยตามมาตรฐาน ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ย
                       ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ใช้พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ได้รับการรับรอง สนับสนุนการรวมกลุ่มเป็นเกษตร
                       แปลงใหญ่ สร้างเครือข่ายในรูปแบบของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ลานเท กับโรงงาน
                       สกัดน้ำมัน ส่งเสริม ให้ความรู้เรื่องการตัดปาล์มน้ำมันที่ได้คุณภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ
                       พัฒนาให้เกษตรกรเพาะปลูกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP)

                             (2) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกปาล์มน้ำมัน
                       อยู่มีเนื้อที่ 5,917 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอนาจะหลวย อำเภอน้ำยืน และอำเภอเดชอุดม ควร
                       สนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ เช่น ชลประทาน แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ใช้ปัจจัย

                       การผลิตในอัตราและช่วงเวลาที่เหมาะสม สนับสนุนพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ได้รับการรับรอง จะสร้างความ
                       มั่นใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน พื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตรแบบ
                       ผสมผสานโดยเฉพาะในช่วงที่ปาล์มน้ำมันอายุน้อยยังไม่ให้ผลผลิต หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น และ
                       ภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หรือ

                       ถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชที่มีผลตอบแทนดีกว่า
                             (3) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบัน
                       เกษตรกรยังคงใช้ที่ดินปลูกปาล์มน้ำมันอยู่ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการ
                       ปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดินสนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความ

                       เหมาะสม และปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นอายุประมาณ 20-25 ปี การปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นจึง
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49