Page 43 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุบลราชธานี
P. 43
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
36
ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และปลูกยางพาราทดแทนในพื้นที่เดิมเช่นกันกับพื้นที่
ที่มีความเหมาะสมสูง พัฒนาตลาดและช่องทางจัดจำหน่ายให้มากขึ้น โดยเน้นการแปรรูปยาง
หรือไม้ยางพาราเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจเน้นจากชุมชนที่เข้มแข็งเป็นพื้นที่ต้นแบบ
(3) พื้นที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
ยังคงใช้ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหา เช่น น้ำท่วมซ้ำซาก ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ -ส่งเสริมให้มีการโค่นยางพารา
ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และหาพืชอื่นทดแทน เช่น ส่งเสริมให้ปลูกไม้ผล มะพร้าว ไผ่หวาน มันสำปะหลัง
แตงโม พืชไร่ และพืชผักต่าง ๆ ทดแทน ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้
ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตพืชผัก บริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่
เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น จัดหาตลาดให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชผัก
ทดแทน โดยอาจเริ่มจากตลาดชุมชน
(4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกยางพารา แต่ปัจจุบันเกษตรกร
ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกยางพารา พบว่าเกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ข้าว มันสำปะหลัง เป็นต้น พื้นที่ที่มี
ศักยภาพ หรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกยางพารา แต่เกษตรกร หันมาปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น
ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ไม้ผล ไม้ยืนต้นอื่น ๆ ควรเน้นให้เกษตรกรปลูกพืชดังกล่าวต่อไป เนื่องจาก
ปัจจุบันตามมาตรการยุทธศาสตร์ยางพารา เน้นการลดพื้นที่การปลูกยางพาราอยู่แล้ว ฉะนั้นควรสร้าง
ความตระหนักให้เกษตรกร เน้นการทำการเกษตรแบบผสมผสาน หรือการเข้าร่วมโครงการเกษตร
ทฤษฎีใหม่ หรือ วนเกษตร เพื่อทำให้เกษตรกรสามารถใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ามากที่สุดต่อไป
4.3 มันสำปะหลัง
(1) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกมันสำปะหลัง
อยู่มีเนื้อที่ 312 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอม่วงสามสิบ อำเภอตระการพืชผล และอำเภอเขื่องใน
ทั้งนี้ ควรเน้นให้เกษตรกรเข้าถึงพันธุ์มันสำปะหลังต้านทานโรค ให้เชื้อแป้งสูงและมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ไม่ต่ำ
กว่า 5 ตัน ภายในปี 2567 นั้น ทำให้เน้นมีการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง แต่เน้น
การลดต้นทุนผลผลิต เร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาโรคโคนเน่าหัวเน่า และโรคใบด่างมันสำปะหลัง
ส่งเสริมการทำระบบน้ำหยดในพื้นที่ที่มีศักยภาพ การปรับปรุงบำรุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมี
ประสิทธิภาพ ทำการวิเคราะห์คุณภาพดินอยู่เสมอส่งเสริมเกษตรกรแปรรูปมันสำปะหลังเบื้องต้นเพื่อ
เพิ่มมูลค่า เช่น การแปรรูปมันเส้นสะอาด สร้างความร่วมมือระหว่างเกษตรกรและโรงงาน เพื่อวางแผนการขุด
ของเกษตรกร ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวในช่วงอายุ และระยะเวลาที่เหมาะสมใช้ท่อนพันธุ์ที่
ต้านทานโรค และให้ผลผลิตสูง เข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่ และส่งเสริมให้เกษตรกรเป็น
Smart farmer
(2) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกมัน
สำปะหลังอยู่ มีเนื้อที่ 24,706 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอเขื่องใน อำเภอน้ำยืน และอำเภอ
ม่วงสามสิบ เกษตรกรยังคงปลูกมันสำปะหลังได้ผลดี ทั้งนี้ควรพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้มากขึ้น ใน
เรื่องของคุณภาพดิน และ ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพดินอยู่เสมอ ส่งเสริมให้มีการใส่ปุ๋ยตามค่า
วิเคราะห์ดิน ซึ่งอาจต้องใช้ปุ๋ยส่งตัด สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการจัดการพื้นที่