Page 40 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุบลราชธานี
P. 40
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
33
3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด
3.1 ข้าวหอมมะลิจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการรับรอง ข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) 26
พฤษภาคม 2559 ข้าวหอมมะลิอุบลราชธานีมีชื่อเสียงเพราะมีลักษณะเด่น มีกลิ่นหอม เมล็ดข้าวขาว
มีความเรียวยาว ขาวใส เป็นเงา มันวาว และมีรสชาติดี เมื่อหุงหรือต้มแล้วข้าวหอมมะลิอุบลราชธานี
จะมีกลิ่นหอม เหนียว และนุ่ม เนื่องจากมียางข้าวเหนียวปนเล็กน้อยจากการที่เกษตรกรจังหวัด
อุบลราชธานีได้จัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้สำหรับปลูกข้าวเหนียวเพื่อไว้บริโภคในครัวเรือน ทำให้ข้าว
หอมมะลิอุบลราชธานีมีลักษณะเฉพาะตัวและด้วยคุณภาพ และความมีชื่อเสียงของข้าวหอมมะลิ
อุบลราชธานี จึงได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคเป็นที่ต้องการของโรงสีและ พ่อค้าข้าวทั้งตลาดภายใน
และต่างประเทศ เช่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เป็นต้น
3.2 หอมแดง เป็นพืชผักที่คนไทยนิยมนำมาใช้ปรุงอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติให้อร่อยยิ่งขึ้น
หอมแดงสามารถปลูกได้ตลอดปี ปกติจะมีการปลูกเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และผลผลิตจะมีปริมาณมาก
ที่สุดในช่วงหลังฤดูการทำนาซึ่งเป็นระยะที่มีอุณหภูมิค่อนข้างเย็นหอมแดงมีการเจริญเติบโตได้
สมบูรณ์และหัวค่อนข้างแกร่งกว่าการปลูกในฤดูอื่น ๆ ทำให้การเก็บรักษาได้ค่อนข้างจะทนกว่า
ปัจจุบันหอมแดงเป็นพืชที่ประเทศไทย มีการส่งออกสูง ตลาดรับซื้อได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์
ตะวันออกกลาง นอกจากนี้ยังมีประเทศในกลุ่มยุโรป ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน อังกฤษ เป็นต้น
จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้มีการส่งเสริการปลูกหอมแดงมากขึ้นจึงทำให้เป็นเศรษฐกิจที่มี
อนาคตไกลนอกจากพืชเศรษฐกิจตัวหลัก เช่น ข้าว มันสำปะหลัง เป็นต้น
3.3 พริกขี้หนู เป็นพืชผักสมุนไพร เป็นไม้ทรงพุ่มขนาดเล็ก ผลมีลักษณะทรงกลมยาว ปลาย
เรียวเล็ก ๆ มีขนาดเล็ก ผิวเปลือกหนาลื่นเป็นมัน ผลดิบมีสีเขียว ผลสุกมีสีแดง ภายในผลกลวงมี
แกนกลาง จะมีเมล็ดเล็ก ๆมีสีเหลืองอ่อน เกาะแกนกลางอยู่มากมาย มีรสชาติเผ็ดร้อน มีถิ่นกำเนิดใน
เขตร้อนทวีปอเมริกา ในปัจจุบันได้มีปลูกกันในหลายประเทศทั่วโลก เป็นพืชสมุนไพรไทยที่มีมาแต่
โบราณ ในประเทศไทยมีการปลูกกันมาก มีประโยชน์และสรรพคุณ ทางยาหลายอย่าง เป็นเครื่องเทศ
ชนิดหนึ่ง ใช้นำมาประกอบปรุงอาหารเมนูต่าง ๆ ได้หลายเมนูโดยในจังหวัดอุบลราชธานีมีการส่งเสริม
และปลูกกันอย่างแพร่หลายเป็นพืชที่มีอนาคตไกล
3.4 พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green
Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่ง
ที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสาระสำคัญที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น
การแพทย์ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืช
ทางเลือกในปี 2564 โดยดำเนินการภายใต้ตลาดนำการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพร
ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการดํารงชีพ
จากฐานข้อมูล Agri-Map Online จังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืช
สมุนไพรได้หลายชนิด เช่น กระชายดำ ขมิ้นชัน ใบบัวบก เป็นต้น
กระชายดำ เป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีเหง้าอยู่ใต้ดินเจริญเติบโตและลงหัวได้ดีในดินร่วน
ทราย มีการระบายน้ำดีไม่ชอบน้ำขัง ไม่ชอบแดดจัด ชอบแดดร่มรำไร เกษตรกรจึงนิยมปลูกกระชาย