Page 42 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุบลราชธานี
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                               35








                             (2) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่
                       1,499,151 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอเดชอุดม อำเภอบุณฑริก และอำเภอพิบูลมังสาหาร เป็นพื้นที่
                       ปลูกข้าวที่มีข้อจำกัดไม่มากนัก เกษตรกรยังคงปลูกข้าวควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ เช่น
                       ชลประทาน จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการใช้ที่ดิน ปัญหาการทิ้งถิ่นฐานไปทำงานที่อื่นจะ

                       ลดลง และพื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรแม่นยำหรือเกษตร
                       ทฤษฎีใหม่ เป็นต้น และภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าไม่ควรปรับเปลี่ยน
                       ไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคาไม่ดีและต้องการปรับเลี่ยนการผลิตควรเป็นพืชไร่ เพื่อที่ว่าในอนาคต
                       ยังสามารถกลับมาทำนาได้อีก

                             (3) พื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้ที่ดิน
                       ปลูกข้าวอยู่ มีประมาณกว่าล้านไร่ ซึ่งประสบปัญหา เช่น น้ำท่วมซ้ำซาก ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ กระทรวง
                       เกษตรและสหกรณ์ ควรให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม โดย
                       สนับสนุนการปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ ให้เกษตรกรเลือกปลูกพืชชนิดใหม่

                       ที่มีความเหมาะสม และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้า
                       โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
                             (4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมี

                       ความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกข้าว โดยมาปลูกพืชชนิดอื่น
                       ทดแทน เช่น มันสำปะหลัง ยางพารา ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชไร่ หากในอนาคตข้าวราคาดี เกษตรกร
                       อาจกลับมาปลูกข้าวได้เหมือนเดิม แต่หากเป็นไม้ผลหรือไม้ยืนต้น การกลับมาปลูกข้าวอาจเป็นเรื่องยาก

                       ดังนั้นอาจส่งเสริมในเรื่องของการทำเกษตรรูปแบบอื่น เช่น ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ทดแทน

                         4.2  ยางพารา

                             (1) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่ มีเนื้อที่
                       45,806 ไร่ ปลูกมากในเขตอำเภอน้ำยืน อำเภอบุณฑริก และอำเภอเดชอุดม ทั้งนี้โดย
                       คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งปลูก

                       ยางพาราคุณภาพดีที่สำคัญของจังหวัด ควรมีการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ เช่น การคัดเลือก
                       พันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และต้านทานโรค การปรับปรุงบำรุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมี
                       ประสิทธิภาพ การปลูกพืชแซมและพืชคลุมดินให้เหมาะสมเพราะมีผลต่อการเจริญเติบโตของยางการ
                       บำรุงรักษา การใส่ปุ๋ยการตัดแต่งกิ่ง และเทคนิคการกรีดยางให้มีปริมาณน้ำยางสูงมีคุณภาพและตรง
                       ตามมาตรฐาน เน้นการพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่

                       ที่มีความเหมาะสมสูง ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีการบริหารงานแบบ
                       มืออาชีพและสามารถถ่ายทอดกิจการให้กับคนรุ่นใหม่
                             (2) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่

                       มีเนื้อที่ 382,762 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอบุณฑริก อำเภอเดชอุดม และอำเภอสิรินธร เกษตรกร
                       ยังคงปลูกยางพาราได้ผลดี ควรสนับสนุนให้มีเพิ่มผลผลิตยางพารา โดยเน้นการจัดการที่เหมาะสมใน
                       เรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับพื้นที่เหมาะสมสูง โดย เฉพาะการปรับปรุงบำรุงดิน เน้นการพัฒนาการตลาด
                       ในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ ที่มีความเหมาะสมปานกลาง ให้มากขึ้น
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47