Page 41 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดอุบลราชธานี
P. 41
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
34
ดำระหว่างแถวไม้ยืนต้นอายุเก็บเกี่ยวของกระชายดำ ประมาณ 8-9 เดือน 1 ไร่ จะได้ผลผลิต
ประมาณ 1,000-2,000 กิโลกรัมโดยพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีมีศักยภาพในการปลูกกระชายดำที่
ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 363,602 ไร่ กระจายอยู่ในอำเภอเดชอุดม อำเภอพิบูลมังสา
หาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอเขื่องใน อำเภอบุณฑริก อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอสารินชำราบ
อำเภอสิรินธร อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอเขมราฐ อำเภอน้ำยืน อำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอนาจะหลวย
อำเภอโพธิ์ไทร อำเภอสำโรง อำเภอกุดข้าวปุ้น อำเภอตาลสุม อำเภอทุ่งศรีอุดม อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอ
น้ำขุ่น อำเภอนาเยีย อำเภอโขงเจียม อำเภอนาตาล อำเภอเหล่าเสือโก้ก และอำเภอดอนมดแดง
ขมิ้นชัน เป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบาย
น้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวนเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และมี
รายได้ระหว่างรอการเติบโตของยางพาราหรือปาล์มน้ำมัน โดยพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่
ศักยภาพในการปลูกขมิ้นชันที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) ประมาณ 364,805 ไร่ กระจายอยู่ใน
อำเภอเดชอุดม อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล อำเภอเขื่องใน อำเภอบุณฑริก อำเภอ
ม่วงสามสิบ อำเภอสารินชำราบ อำเภอสิรินธร อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอเขมราฐ อำเภอน้ำยืน
อำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอนาจะหลวย อำเภอโพธิ์ไทร อำเภอสำโรง อำเภอกุดข้าวปุ้น อำเภอตาลสุม
อำเภอทุ่งศรีอุดม อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอน้ำขุ่น อำเภอนาเยีย อำเภอโขงเจียม อำเภอนาตาล
อำเภอเหล่าเสือโก้ก และอำเภอดอนมดแดง
บัวบก ขยายพันธุ์ได้โดยใช้เมล็ด และใช้ลำต้นหรือที่เรียกว่าไหล บัวบกสามารถขึ้นได้ดีทั้งใน
ที่ร่ม และที่โล่งแจ้ง แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความชื้นในดินพอเหมาะ
ในกรณีที่ต้องการปรับปรุงดินควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก ดูแลง่าย สามารถปลูกแซมระหว่างแปลง
พืชหลักได้ โดยพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกบัวบกที่ระดับความเหมาะสมสูง
(S1) ประมาณ 83,123 ไร่ กระจายอยู่ในอำเภอเดชอุดม อำเภอตระการพืชผล อำเภอเขื่องใน อำเภอ
บุณฑริก อำเภอสิรินธร อำเภอน้ำยืน อำเภอนาจะหลวย อำเภอสำโรง อำเภอทุ่งศรีอุดม อำเภอน้ำขุ่น
และ อำเภอโขงเจียม
4 แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ
4.1 ข้าว
(1) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่ 173,602
ไร่ กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเขื่องใน อำเภอเมืองอุบลราชธานี และอำเภอวารินชำราบ คณะ
อนุกรรมพัฒนาที่ดินจังหวัดสมควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตข้าวที่
สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำชลประทาน การจัดการดิน ปุ๋ย พันธุ์ข้าว มีการรวมกลุ่ม
เป็นเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจรด้านการตลาดในและต่างประเทศการแปรรูป แหล่งทุน
มีภาครัฐสนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ และ GAP และเนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง
การปลูกพืชหลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน ทั้งนี้ภาครัฐควร
ให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวจึง
ไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หากข้าวราคาไม่ดีถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชไร่
เพื่อที่ว่าในอนาคตจะได้กลับมาทำนาได้อีก