Page 38 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสกลนคร
P. 38
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
33
3.3 แคนตาลูป เป็นพืชตระกูลแตงเช่นเดียวกับแตงไทย มีถิ่นก าเนิดในประเทศอินเดีย ไทยได้น า
สายพันธุ์มาทดลองปลูกและได้พัฒนาปรับปรุงหลากหลายสายพันธุ์จนสามารถให้ผลผลิตดี โดย
เกษตรกรต าบลขมิ้น อ าเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มผลิตแคนตาลูปที่มีคุณภาพสูง
ผลผลิตดี และตรงตามความต้องการของตลาด เนื่องจากเป็นที่ดอน พื้นที่มีความเหมาะสม น้ าไม่ท่วม
สามารถปลูกได้ปีละ 4 ครั้ง สามารถท าเกษตรผสมผสานร่วมกับนาข้าว จะสร้างรายได้ให้เกษตรกร
ตลอดทั้งปี นอกจานี้ กลุ่มเกษตรกร ต าบลพอกน้อย อ าเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร ได้
รวมกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกแคนตาลูป เพื่อคัดเลือกเป็นผู้ผลิตสินค้าแคนตาลูป โอท็อปของต าบล
(OTOP) แต่เนื่องจากแคนตาลูปเป็นผลไม้ที่มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงต่าง ๆ จึงต้องได้รับการดูแล
เป็นพิเศษ และมีต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง องค์การบริหาส่วนต าบลพอกน้อย จึงได้จัดกิจกรรม
ส่งเสริมให้กลุ่มผู้ปลูกแคนตาลูปลดการใช้สารเคมี โดยสนับสนุนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักชีวภาพ
และใช้สารก าจัดแลงจากสมุนไพร เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต และเกิดผลดีต่อสุขภาพ
ผู้ปลูกและผู้บริโภคแคนตาลูป เนื่องจากแคนตาลูปมีสรรพคุณด้านการเป็นยาบ ารุงธาตุ แก้กระหาย
บ ารุงสายตา ฯลฯ ได้รับความนิยมด้านการเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ เป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งการ
บริโภคภายในและเป็นสินค้าส่งออกส าคัญของประเทศ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการปลูกแคนตาลูป
เริ่มได้รับผลกระทบจากปัญหาฝนตกนอกฤดู ท าให้การเก็บแตงสั้นขึ้น การปลูกแคนตาลูปท าได้ยาก และ
เน่าเสียเร็ว ดังนั้นอบต. พอกน้อยจึงสนับสนุนให้มีการน าแตงแคนตาลูปแปรรูปเป็นแตงเชื่อม อบแห้ง
หรือน้ าแคนตาลูป และส่งเสริมการตลาดต่อไป
3.4 หมากเม่า เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืนยาว แตกกิ่งก้านมาก สูงประมาณ 5-10 เมตร เมื่อโตเต็มที่
จะมีขนาดถึง 4 คนโอบ และมีเนื้อไม้แข็ง มักขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง หรือตามหัวไร่
ปลายนาทั่วทุกภาคของประเทศไทย เป็นผลไม้ท้องถิ่นของภาคอีสาน บริเวณเทือกเขาภูพานของ
จังหวัดสกลนคร ผลหมากเม่ามีขนาดเล็กและเป็นพวง ผลดิบมีสีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม มีรสเปรี้ยว
แต่เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงและม่วงด า โดยผลสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยวและฝาด โดย
ส านักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน
วิทยาเขตสกลนคร ส านักงานพาณิชย์จังหวัดสกลนคร และชมรมหมากเม่าสกลนคร ได้จัดท าค า
ขอจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ให้หมากเม่าเป็นผลผลิตสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
(Geographical Indication: GI) ของต าบลสร้างค้อ อ าเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร ซึ่งปัจจุบัน
หมากเม่าได้รับการผลักดันให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ในฐานะพืชเศรษฐกิจทางเลือกในการกระตุ้น
เศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมรายได้และคุณภาพชีวิตเกษตรกร ซึ่งทิศทางของหมากเม่ามีแนวโน้มได้รับ
ความนิยมมากขึ้น เนื่องจากสามารถน ามาแปรรูปได้หลากหลาย ทั้งในรูปน้ าผลไม้และเครื่องดื่ม
ไวน์หมากเหม่า สินค้าระดับโอท็อป (OTOP) มีตลาดผู้บริโภค เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ผลหมากเม่า