Page 37 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดสกลนคร
P. 37
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
32
หมากเม่า และไม้ดอกไม้ประดับ (กล้วยไม้ กุหลาบ) พืชแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและคุณลักษณะส าคัญ
สรุปดังต่อไปนี้
3.1 ข้าวโพดฝักสด หมายถึงข้าวโพดที่ปลูกเพื่อน าฝักสดมาบริโภค ได้แก่ ข้าวโพดฝักอ่อน
ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเทียนหรือข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดคั่ว โดยจังหวัดสกลนครถือเป็นพื้นที่
มีศักยภาพการปลูกข้าวโพดฝักสดพันธุ์ข้าวโพดหวาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่ง
มีการปลูกกระจายทั่วไปทุกอ าเภอในเขตพื้นที่จังหวัดสกลนคร ส่วนข้าวโพดข้าวเหนียวมีการปลูกมาก
ในเขตต าบลท่าแร่ อ าเภอเมืองสกลนคร ระยะการปลูกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ได้มีการศึกษา
พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อส่งเสริมเป็นสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติ
ที่ดีทางการเกษตร (Good Agricultural Practice: GAP) การผลิตตามระบบเกษตรปลอดสารเคมี
จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เป็นพืชเศรษฐกิจส าคัญสามารถส่ง
ผลิตผลเพื่อการแข่งขันในตลาดโลกได้ทั้งด้านราคาและคุณภาพ ทั้งนี้ ข้าวโพดฝักสดเป็นพืชไร่ที่มี
ศักยภาพสูง เหมาะสมส าหรับการปลูกในชนบทโดยเฉพาะในเขตพื้นที่มีระบบชลประทาน ปลูกง่ายใช้
เวลาการผลิตสั้น มีความเสี่ยงต่ า ใช้สารเคมีน้อย ให้ผลผลิตและใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายตลอด
ระยะการปลูก ข้าวโพดฝักอ่อนใช้ปรุงอาหาร ข้าวโพดฝักสดใช้รับประทานฝักสด หรือผ่าน
กระบวนการแปรรูปเป็นแป้งข้าวโพด รวมทั้ง สามารถใช้ผลิตเป็นอาหารสัตว์ที่มีคุณค่าทางอาหาร
มีคุณภาพและราคาถูก ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานข้อมูลผลผลิตข้าวโพดหวาน ปะรจ าปี
พ.ศ. 2563 จังหวัดสกลนคร มีการปลูกข้าวโพดหวาน 2,574 ไร่ ให้ผลผลิต 5,300 ตัน สัดส่วนผลผลิต
2,094 กิโลกรัมต่อไร่
3.2 มะเขือเทศโรงงาน เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการปลูกอย่างแพร่หลายในจังหวัดสกลนคร ซึ่งมีพื้นที่
ปลูกมากที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแหล่งตลาดรับซื้อผลผลิตตลอดปี รวมทั้ง อุตสาหกรรม
แปรรูปรองรับ ระบบการผลิตอย่างเป็นระบบครบวงจร ทั้งด้านการตลาด การคมนาคมขนส่ง และ
ระบบชลประทาน เกษตรกรนิยมปลูกในช่วงฤดูหนาวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
เพราะเป็นช่วงที่สภาพอากาศเหมาะสมที่สุดในการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ อุณหภูมิที่เหมาะสม
ที่สุดในการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 18-28 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะพื้นที่อ าเภอพรรณนานิคม ซึ่งมี
ระบบชลประทานโครงการส่งน้ าเขื่อนน้ าอูน ส่วนพื้นที่อ าเภอเต่างอย มีเกษตรกรรวมกลุ่มกันในนาม
ของกลุ่มผู้ใช้น้ าอ่างเก็บน้ าห้วยอีนูน ท าการเพาะปลูกมะเขือเทศแบบใช้น้ าน้อย ภายใต้การบริหาร
จัดการน้ าของกลุ่มฯ ซึ่งได้รับผลผลิตดีและปริมาณตามที่ต้องการ ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร
รายงานข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร ประจ าปี พ.ศ. 2563 จังหวัดสกลนคร มีพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ
6,714 ไร่ ได้ผลผลิต 25,880 ตัน คิดเป็น 4,135 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ
โรงงาน 5,793 ไร่ ให้ผลผลิต 23,180 ตัน คิดเป็น 4,319 กิโลกรัมต่อไร่ และเป็นพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ
เพื่อการบริโภค 921 ไร่ ให้ผลผลิต 2,704 ตัน คิดเป็น 3,031 กิโลกรัมต่อไร่