Page 22 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดเลย
P. 22
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
15
ตารางที่ 6 พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตอ้อยโรงงาน
ข้าว (ไร่) ยางพารา (ไร่)
อำเภอ
S3 N รวม S3 N รวม
เชียงคาน 19,888 779 20,667 - - -
ด่านซ้าย 2,750 3,092 5,842 4,096 - 4,096
ท่าลี่ 14,122 1,025 15,147 - - -
นาด้วง 4,426 14 4,440 - - -
นาแห้ว 26 182 208 - - -
ปากชม 5,737 601 6,337 - - -
ผาขาว 4,353 1,031 5,384 8,268 - 8,268
ภูกระดึง 428 473 901 1,268 - 1,268
ภูเรือ 277 1,470 1,747 937 - 937
ภูหลวง 4,928 2,804 7,732 6,909 - 6,909
เมืองเลย 32,830 1,335 34,165 - - -
วังสะพุง 26,160 2,838 28,998 18,754 - 18,754
หนองหิน 2,759 1,137 3,896 4,181 - 4,181
เอราวัณ 2,887 327 3,214 - - -
รวม 121,572 17,106 138,678 44,413 - 44,413
4) แนวทางการจัดการ
(1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
ปลูกอ้อยโรงงานต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิต
ที่มีคุณภาพดี ซึ่งการปลูกอ้อยโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการ
ที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน
ในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกอ้อยโรงงาน ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกอ้อยโรงงาน
ที่สำคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่ในอำเภอเมืองเลย เป็นต้น
พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูก
อ้อยโรงงานในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกอ้อยโรงงาน เช่น ความอุดมสมบูรณ์
ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้น โดยกระจายอยู่ในอำเภอวังสะพุง อำเภอผาขาว อำเภอเอราวัณ
เป็นต้น
(2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้เข้า
โครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น เปลี่ยนชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกว่าการปลูกอ้อยโรงงาน
มีต้นทุนที่ต่ำ และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เป็นต้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย