Page 28 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบึงกาฬ
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                21






                       เหมาะสมปานกลาง ให้มากขึ้น นอกจากนั้นควรส่งเสริมให้มีการโค่นยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี
                       และปลูกยางพาราทดแทนในพื้นที่เดิมเช่นกันกับพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง รวมทั้งพัฒนาตลาดและ
                       ช่องทางจัดจำหน่ายให้มากขึ้น โดยเน้นการแปรรูปยาง หรือไม้ยางพาราเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจเน้นจาก
                       ชุมชนที่เข้มแข็งเป็นพื้นที่ต้นแบบ

                             3) พื้นที่ปลูกยางพาราที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้

                       ที่ดินปลูกยางพาราอยู่ ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ ทั้งนี้ควรส่งเสริมให้มีการโค่น
                       ยางพาราที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และหาพืชอื่นทดแทน เช่น ส่งเสริมให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้นทดแทน ให้การ
                       ช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่ผลิตพืชผัก บริโภคใน
                       ครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น และจัดหาตลาด

                       ให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชผักทดแทน โดยอาจเริ่มจากตลาดชุมชน

                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกยางพารา แต่ปัจจุบันเกษตรกร
                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูกยางพารา แต่เกษตรกรหันมาปลูกพืชอื่นทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ไม้ผล ไม้
                       ยืนต้นอื่น ๆ ควรเน้นให้เกษตรกรปลูกพืชดังกล่าวต่อไป เนื่องจากปัจจุบันตามมาตรการยุทธศาสตร์
                       ยางพารา เน้นการลดพื้นที่การปลูกยางพาราอยู่แล้ว ฉะนั้นควรสร้างความตระหนักให้เกษตรกร เน้น

                       การทำการเกษตรแบบผสมผสาน หรือการเข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ หรือ วนเกษตร เพื่อทำให้
                       เกษตรกรสามารถใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ามากที่สุดต่อไป

                         4.2  ข้าว

                             1) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่
                       92,695 ไร่ อยู่ในเขตอำเภอเซกา อำเภอเมืองบึงกาฬ และอำเภอโซ่พิสัย ตามลำดับ ทั้งนี้โดย

                       คณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นแหล่งผลิตข้าวที่
                       สำคัญของจังหวัด และมีการบริหารจัดการน้ำชลประทาน การจัดการดินและปุ๋ย พันธุ์ข้าว โดยรวมกลุ่ม
                       เป็นเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนาต่อยอดครบวงจรการตลาดในและต่างประเทศ การแปรรูป แหล่งทุน มี
                       ภาครัฐสนับสนุนการทำมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ และ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
                       (Good Agricultural Practices: GAP) และเนื่องจากเป็นพื้นที่ศักยภาพสูง ควรส่งเสริมการปลูกพืช

                       หลังนาจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

                             2) พื้นที่ปลูกข้าวที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกข้าวอยู่ มีเนื้อที่
                       308,593 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอโซ่พิสัย อำเภอเซกา และอำเภอพรเจริญ ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็น
                       พื้นที่ปลูกข้าวที่มีข้อจำกัดไม่มากนัก เกษตรกรยังคงปลูกข้าวได้ผลดี หลายพื้นที่ประสบปัญหาขาดน้ำใน

                       บางช่วงของการเพาะปลูก การสนับสนุนด้านการชลประทานจะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการ
                       ใช้ที่ดิน ปัญหาการละทิ้งถิ่นฐานจะลดลง และพื้นที่ในเขตนี้มีความเหมาะสมสูงสำหรับการเกษตรแบบ
                       ผสมผสาน หรือเกษตรทฤษฎีใหม่
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33