Page 23 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบึงกาฬ
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                16





                       ตารางที่ 8  พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตปาล์มน้ำมัน

                                                   ข้าว (ไร่)                       ยางพารา (ไร่)
                           อำเภอ
                                         S3         N           รวม          S3         N         รวม
                        เซกา             12,038      1,155       13,193      2,922          -        2,922
                        โซ่พิสัย          1,331      1,655        2,985      2,283          -        2,283

                        บึงโขงหลง         2,628          -        2,628        990          -         990
                        บุ่งคล้า           151           -          151      2,380          -        2,380
                        ปาดคาด             938        240         1,178      2,604          -        2,604

                        พรเจริญ           1,340       330         1,670      1,587          -        1,587
                        เมืองบึงกาฬ       3,597       111         3,708      6,271          -        6,271

                        ศรีวิไล           3,779          -        3,779      1,965          -        1,965
                            รวม          25,803      3,490       29,293     21,003          -      21,003


                             4) แนวทางการจัดการ
                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
                       ปลูกปาล์มน้ำมันต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มี

                       คุณภาพดี ซึ่งการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญ
                       ต่าง ๆ ได้ เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูก
                       ปาล์มน้ำมันในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูก

                       ปาล์มน้ำมันที่สำคัญของจังหวัด โดยกระจายอยู่ในอำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอเซกา เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูก
                       ปาล์มน้ำมันในที่ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน เช่น ความ

                       อุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็นกรดเป็นด่าง ความชื้น โดยกระจายอยู่ในอำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอเซกา
                       อำเภอพรเจริญ เป็นต้น
                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้เข้า
                       โครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าโดยพิจารณา
                       แหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                         2.4  มันสำปะหลัง

                             มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดบึงกาฬในลำดับที่ 4 จากฐานข้อมูลในแผนที่
                       เกษตรเชิงรุก หรือ Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 9 และภาพที่ 12 – 13)

                             1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง พบเพียงพื้นที่มีความเหมาะสมสูง
                       (S1) พื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) และไม่เหมาะสม (N) มีรายละเอียดดังนี้
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28