Page 26 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบึงกาฬ
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                19






                               ทั้งนี้ ในการส่งเสริมการปลูกพืชจะพิจารณาเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพคงเหลือในระดับ
                       ความเหมาะสมสูง (S1) และระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) เท่านั้น เนื่องจากสภาพพื้นที่ปลูกพืชตรง
                       ตามศักยภาพของดิน การลงทุนต่ำก็สามารถเพิ่มผลผลิตได้ จึงควรส่งเสริมในพื้นที่ดังกล่าว

                             4) แนวทางการจัดการ

                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร
                       ปลูกมันสำปะหลังต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้
                       ผลผลิตที่มีคุณภาพดี สามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ ได้ เช่น เกษตรอินทรีย์ ระบบ
                       ส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น

                                 พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง
                       ในที่ดินที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกมันสำปะหลัง พบในอำเภอโซ่พิสัย
                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้
                       เกษตรกรเข้าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า

                       โดยพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย

                       3. พืชเศรษฐกิจอนาคตไกลของจังหวัด

                         3.1  สับปะรด เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ควรส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเพิ่มเติม ซึ่งในบางพื้นที่ก็มีการ
                       ปลูกสับปะรดอยู่แล้ว เช่น อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า อำเภอพรเจริญ เป็นต้น จะมีกลุ่ม
                       เกษตรกรหรือเกษตรกรที่ปลูกสับปะรด ซึ่งเป็นสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย โดยสับปะรดสามารถปลูกแซม

                       ในสวนยางพารา ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงที่ราคา
                       ยางพาราตกต่ำ

                         3.2  พืชผัก นอกเหนือจากพืชหลักแล้ว จังหวัดบึงกาฬ ยังมีมะเขือเทศ ที่เกษตรกรปลูกอยู่
                       เช่นเดียวกับพริก และพืชผักชนิดอื่น ๆ ที่มีการปลูกมากตามริมฝั่งแม่น้ำโขง เนื่องจากบริเวณพื้นที่ริม
                       แม่น้ำโขงดินมีความอุดมสมบูรณ์ ถือว่ามีความเหมาะสมสูงสำหรับการปลูกมะเขือเทศ และพืชผักชนิด

                       ต่าง ๆ เกษตรกรในบริเวณนี้จะมีการทำการเกษตรแบบการปลูกพืชหมุนเวียน ตามสภาพของดิน โดย
                       มะเขือเทศนั้นจะปลูกในฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูที่ได้ผลผลิตมากที่สุด และที่สำคัญคือ มีโรงงานที่ตั้งอยู่ใน
                       บริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นแหล่งรับซื้อมะเขือเทศสำหรับผลิตซอส นอกจากนั้นยังมีแหล่งรับซื้อในประเทศ

                       มาเลเซียอีกด้วย ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้เกษตรกรทำการปลูกมะเขือเทศเพิ่มเติม เพื่อสร้างรายได้ให้
                       เกษตรกรได้ตลอดทั้งปี เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์, 2561

                         3.3  พืชสมุนไพร ด้วยนโยบายของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green
                       Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พืชสมุนไพรเป็นเรื่องหนึ่งที่
                       ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นแหล่งของสาระสำคัญ ที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์

                       ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอาง จึงสนับสนุนให้พืชสมุนไพรเป็นพืชทางเลือกในปี 2564 โดย
                       ดำเนินการภายใต้ตลาดนำการผลิต และหากทิศทางของตลาดสมุนไพรขยายตัวเพิ่มมากขึ้นจะช่วยให้
                       เกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพร มีรายได้และความมั่นคงในการดำรงชีพ จากฐานข้อมูล Agri-Map Online
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31