Page 30 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบึงกาฬ
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                23






                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน แต่ปัจจุบันเกษตรกร
                       ไม่ได้ใช้พื้นที่ปลูก โดยหันมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง เป็นต้น ดังนั้น
                       ภาครัฐควรให้ความรู้แก่เกษตรกรในการปลูกพืชตามความเหมาะสมของพื้นที่ ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชไร่
                       ในอนาคตก็สามารถกลับมาปลูกปาล์มน้ำมันได้อีก แต่หากเป็นไม้ผล/ไม้ยืนต้น การกลับมาปลูกปาล์ม

                       น้ำมันอาจเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะการปลูกไม้ผลบางชนิดที่ปัจจุบันราคาดี แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาต้นทุน
                       การผลิต และราคาผลผลิตร่วมด้วย

                         4.4  มันสำปะหลัง
                             1) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกมันสำปะหลังอยู่
                       มีเนื้อที่ 44 ไร่ มีพื้นที่ปลูกในเขตอำเภอโซ่พิสัย ซึ่งตามมาตรการยุทธศาสตร์มันสำปะหลัง 2564 -2567

                       มุ่งเน้นให้มีการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง และลดต้นทุนการผลิต เร่งหาแนว
                       ทางแก้ไขปัญหาโรคโคนเน่าหัวเน่า และโรคใบด่างมันสำปะหลัง ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการทำระบบน้ำ
                       หยดในพื้นที่ที่มีศักยภาพ การปรับปรุงบำรุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ทำการวิเคราะห์

                       คุณภาพดินอยู่เสมอ ส่งเสริมเกษตรกรให้แปรรูปมันสำปะหลังเบื้องต้นเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น การแปรรูป
                       มันเส้นสะอาด สร้างความร่วมมือระหว่างเกษตรกรและโรงงาน เพื่อวางแผนการขุดของเกษตรกร
                       (ขายและค่อยขุด) ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวในช่วงอายุ และระยะเวลาที่เหมาะสม ใช้
                       ท่อนพันธุ์ที่ต้านทานโรค และให้ผลผลิตสูง รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรเป็น Smart Farmer
                               2) พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร

                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกมันสำปะหลังอยู่ แต่พื้นที่ดังกล่าวประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ ดังนั้น
                       ควรส่งเสริมและสร้างความรู้ความเข้าใจในการไถระเบิดดินดาน ให้เกษตรกรมีวิธีป้องกันและแก้ไข
                       ปัญหาที่ลดต้นทุน ให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้

                       พื้นที่ผลิตอาหารเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม
                       (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น และต้องจัดหาตลาดให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชไร่ หรือพืชผัก
                       ทดแทน โดยอาจเริ่มจากตลาดชุมชน
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35