Page 29 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบึงกาฬ
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                22






                             3) พื้นที่ปลูกข้าวในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้ที่ดิน
                       ปลูกข้าวอยู่ ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ขาดน้ำ ผลผลิตต่ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การช่วยเหลือ
                       เกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างดิน สนับสนุนแหล่งน้ำให้เกษตรกรเลือกปลูกพืช

                       ชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า หรือใช้พื้นที่เพื่อผลิตอาหารบริโภคในครัวเรือน

                             4) พื้นที่ที่มีศักยภาพหรือมีความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว แต่ปัจจุบันเกษตรกรไม่ได้ใช้
                       พื้นที่ปลูกข้าว โดยเกษตรกรใช้พื้นที่ดังกล่าวในการปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง เป็นต้น
                       ทั้งนี้หากพืชที่ปลูกเป็นพืชไร่ ในอนาคตเกษตรกรสามารถกลับมาปลูกข้าวหรือทำการเกษตรแบบ
                       ผสมผสานได้

                         4.3  ปาล์มน้ำมัน

                             1) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกปาล์มน้ำมันอยู่ มี
                       เนื้อที่ 1,877 ไร่ มีพื้นที่ปลูกมากในเขตอำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอเซกา ตามลำดับ
                       ทั้งนี้โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาที่ดินจังหวัดควรให้มีการเสนอแผนการใช้ที่ดินเพื่อสงวนให้เป็นพื้นที่
                       ปลูกปาล์มน้ำมันที่สำคัญของจังหวัด มีการบริหารจัดการน้ำอย่างดี รวมทั้งการจัดการดินและปุ๋ยตาม
                       มาตรฐาน ส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยอย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ใช้พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ได้มีการรับรอง
                       สนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ ใหญ่ สร้างเครือข่ายในรูปแบบของสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร

                       วิสาหกิจชุมชน ลานเท กับโรงงานสกัดน้ำมัน ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการตัดปาล์มน้ำมันที่ได้คุณภาพ เพื่อ
                       เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาให้เกษตรกรเพาะปลูกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
                       (Good Agricultural Practices: GAP)

                             2) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกปาล์มน้ำมันอยู่
                       มีเนื้อที่ 16,515 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอเซกา และอำเภอพรเจริญ ซึ่งบริเวณ
                       ดังกล่าวเป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีข้อจำกัดไม่มากนัก เกษตรกรยังคงปลูกปาล์มน้ำมันได้ผลดี หลาย
                       พื้นที่ประสบปัญหาขาดน้ำในบางช่วงของการเพาะปลูก ทั้งนี้ควรสนับสนุนด้านการบริหารจัดการน้ำ เช่น
                       ชลประทาน แหล่งน้ำใน ไร่นานอกเขตชลประทาน ใช้ปัจจัยการผลิตในอัตราและช่วงเวลาที่เหมาะสม

                       สนับสนุนพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ได้รับการรับรอง จะสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน พื้นที่ใน
                       เขตนี้มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตรแบบผสมผสานโดยเฉพาะในช่วงที่ปาล์มน้ำมันอายุน้อยยังไม่ให้
                       ผลผลิต หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น และภาครัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรโดยแนะนำว่า
                       ไม่ควรปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น หรือถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดพืชควรเป็นพืชที่มีผลตอบแทนดีกว่า

                             3) พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ไม่มีความเหมาะสม (S3 และ N) และปัจจุบันเกษตรกร
                       ยังคงใช้ที่ดินปลูกปาล์มน้ำมันอยู่ ทั้งนี้ควรให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำกินในพื้นที่นี้ โดยสนับสนุนการ
                       ปรับโครงสร้างที่ดิน ปรับปรุงบำรุงดิน สนับสนุนแหล่งน้ำ และในกรณีที่ปาล์มน้ำมันหมดอายุ ให้เกษตรกร
                       เลือกปลูกพืชชนิดใหม่ที่มีความเหมาะสมมากกว่า ลงทุนน้อยกว่า และให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่เนื่องจาก
                       ปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นที่มีอายุประมาณ 20 - 25 ปี การปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นจึงเป็นเรื่อง

                       ยาก นอกจากนั้นควรส่งเสริมสินค้าเกษตรชนิดอื่น ๆ ที่สามารถปลูก เลี้ยง หรืออยู่ร่วมกันได้ในสวนปาล์ม
                       น้ำมัน ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้เกษตรกรสามารถเข้าโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม
                       (Zoning by Agri-Map) เป็นต้น
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34