Page 27 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบึงกาฬ
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                20






                       จังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่ศักยภาพที่สามารถส่งเสริมให้ปลูกพืชสมุนไพรที่เป็น Champion Product ได้แก่
                       ขมิ้นชัน ไพล กระชายดำ และบัวบก
                              ขมิ้นชัน เป็นพืชปลูกง่าย ชอบแสงแดดจัด และมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี
                       ไม่ชอบน้ำขัง เกษตรกรสามารถปลูกขมิ้นชันแซมในสวนเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และมีรายได้

                       ระหว่างรอการเติบโตของยางพาราหรือปาล์มน้ำมัน ส่วนกระชายดำเป็นสมุนไพรที่ชอบดินร่วนซุย
                       ไม่ชอบน้ำขังหรือดินที่มีการระบายน้ำไม่ดีเนื่องจากจะเน่าเสียโดยเฉพาะในดินที่มีสภาพเป็นกรด
                       สามารถปลูกกลางแจ้งจนถึงมีแสงแดดพอควร โดยพื้นที่จังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูก
                       ขมิ้นชันและกระชายดำที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) และระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) กระจาย

                       อยู่ในอำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย และอำเภอศรีวิไล เป็นต้น
                              ไพล เจริญได้ดีในดินร่วนซุย ปลูกง่าย ดูแลง่าย สามารถปลูกแซมระหว่างแปลงพืชหลักได้ โดย
                       พื้นที่จังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่ศักยภาพในการปลูกไพลที่ระดับความเหมาะสมสูง (S1) และระดับความ
                       เหมาะสมปานกลาง (S2) อยู่ในอำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอพรเจริญ อำเภอโซ่พิสัย

                               บัวบก สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ไม่ชอบแสงแดดจัด ซึ่งจังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่
                       ที่มีศักยภาพในการปลูกบัวบกซึ่งบัวบกสามารถขึ้นได้ดีทั้งในที่ร่ม และที่โล่งแจ้ง แต่สามารถเจริญเติบโต
                       ได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์มีความชื้นในดินพอเหมาะ เป็นพืชที่ดูแลง่าย และสามารถปลูกแซม

                       ระหว่างแปลงปลูกพืชอื่นได้ และหากต้องการปรับปรุงบำรุงดินควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์
                       4  แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ


                         4.1  ยางพารา

                             1) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมสูง (S1) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่ มีเนื้อที่
                       17,969 ไร่ พบมากในเขตอำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า และอำเภอปากคาด ตามลำดับ ทั้งนี้ตาม

                       มาตรการยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20ปี ( พ.ศ. 2560 - 2579) เน้นให้มีการเพิ่มผลผลิตยางพาราต่อไร่
                       ต่อปี จากปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 224 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 360 กิโลกรัมต่อไร่ ภายในปี 2579 นั้น ควรมีการ
                       จัดการที่เหมาะสมในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ การคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และต้านทานโรค
                       การปรับปรุงบำรุงดิน การใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การปลูกพืชแซมและพืชคลุมดินให้
                       เหมาะสมเพราะมีผลต่อการเจริญเติบโตของยางพารา การบำรุงรักษา การใส่ปุ๋ยการตัดแต่งกิ่ง และ

                       เทคนิคการกรีดยางให้มีปริมาณน้ำยางสูงมีคุณภาพและตรงตามมาตรฐาน ส่วนด้านการตลาด เน้นการ
                       พัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง
                       ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีการบริหารงานแบบมืออาชีพและสามารถ

                       ถ่ายทอดกิจการให้กับคนรุ่นใหม่

                             2) พื้นที่ปลูกยางพาราที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และปัจจุบันยังปลูกยางพาราอยู่
                       มีเนื้อที่มากถึง 644,839 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอเซกา อำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอโซ่พิสัย เป็นพื้นที่
                       ปลูกยางพาราที่มีข้อจำกัดไม่มากนัก เกษตรกรยังคงปลูกยางพาราได้ผลดี หลายแห่งประสบปัญหาขาดน้ำ
                       ในบางช่วงของการปลูก ดังนั้นในพื้นที่นี้ควรสนับสนุนให้มีเพิ่มผลผลิตยางพารา โดยเน้นการจัดการที่

                       เหมาะสมในด้านต่าง ๆ เช่นเดียวกันกับพื้นที่เหมาะสมสูง โดย เฉพาะการปรับปรุงบำรุงดิน และมุ่งเน้น
                       การพัฒนาการตลาดในพื้นที่ เช่น จัดตั้งจุดรับซื้อ และโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่มีความ
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32