Page 15 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบึงกาฬ
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                8






                       ตารางที่ 4  พื้นที่ศักยภาพในการขยายการผลิตยางพารา

                                                    ข้าว (ไร่)                     มันสำปะหลัง (ไร่)
                            อำเภอ
                                           S3         N         รวม          S3         N         รวม
                        เซกา              17,144      1,580      18,724      1,568          -       1,568
                        โซ่พิสัย           3,879      2,066       5,945       433           -         433

                        บึงโขงหลง          3,369        85        3,454         43          -          43
                        บุ่งคล้า            151         23          174          -          -           -

                        ปาดคาด             2,121       392        2,513         16          -          16
                        พรเจริญ            1,781       382        2,163         45          -          45
                        เมืองบึงกาฬ        3,709       265        3,974         59          -          59

                        ศรีวิไล            6,580       748        7,328          9          -           9
                             รวม         38,734      5,541       44,275      2,173          -       2,173

                           4) แนวทางการจัดการ

                               (1) พื้นที่ที่มีความเหมาะสมควรส่งเสริมการผลิต (S1 หรือ S2) ควรสนับสนุนให้เกษตรกร

                       ปลูกยางพาราต่อไปเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและได้ผลผลิตที่มี
                       คุณภาพดี ซึ่งการปลูกยางพาราในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นสามารถนำไปสู่การต่อยอดโครงการที่สำคัญต่าง ๆ
                       ได้ เช่น ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรแม่นยำ เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมสูง (S1) คือพื้นที่ปลูกยางพาราในที่ดิน

                       ที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพต่อการปลูกยางพารา ซึ่งควรสงวนไว้เป็นแหล่งปลูกยางพาราของจังหวัด
                       โดยกระจายอยู่ในอำเภอเมืองบึงกาฬ อำเภอบุ่งคล้า และอำเภอปากคาด เป็นต้น
                                 พื้นที่ปลูกยางพาราในบริเวณที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) คือพื้นที่ปลูกยางพาราใน

                       ดินที่มีข้อจำกัดทางกายภาพบางประการต่อการปลูกยางพารา เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความเป็น
                       กรดเป็นด่าง และแหล่งน้ำ โดยกระจายอยู่ในอำเภอเซกา อำเภอเมืองบึงกาฬ และอำเภอโซ่พิสัย
                               (2) พื้นที่ที่ควรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (S3 หรือ N) ควรสนับสนุนให้เข้า
                       โครงการปรับเปลี่ยนการผลิต เช่น ทำการเกษตรผสมผสานหรือพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
                       โดยพิจารณาแหล่งรับซื้อร่วมด้วย
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20