Page 10 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบึงกาฬ
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                3






                               (2) พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด ลูกคลื่นลอนชัน และเนินเขา ดินลึกและลึกปานกลาง เนื้อดินมี
                       ทรายปน ได้แก่ ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนปนทราย ดินทรายปนดินร่วน สีน้ำตาล น้ำตาลปนแดง
                       อาจพบจุดประสีต่าง ๆ ลูกรัง และเศษหินปะปนในตอนล่างของหน้าตัดดิน การระบายน้ำค่อนข้างดีถึงดี
                       เช่น ชุดดินห้วยแถลง (Ht) ชุดดินพระทองคำ (Ptk)

                             4) ที่ลาดเชิงเขา (Piedmont) เขา (Hill) ภูเขา (Mountain) มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น
                       ลอนลาดถึงเนินเขา ที่เกิดจากการที่หินผุพังสลายตัวอยู่กับที่หรือถูกเคลื่อนย้ายโดยแรงโน้มถ่วงของโลก
                       ในระยะทางใกล้ ๆ และถูกควบคุมด้วยลักษณะของโครงสร้างทางธรณีวิทยา ส่วนใหญ่พบหินปะปนใน
                       หน้าตัดดินและลอยหน้า พื้นที่จังหวัดบึงกาฬพัฒนาจากหินทราย ดินตื้นถึงชั้นเศษหินหรือหินพื้นถึงดิน

                       ลึกมาก เนื้อดินเป็นทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีแดง น้ำตาล และน้ำตาลปนแดง
                       การระบายน้ำดีถึงมากเกินไป พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน อาทิ ชุดดินวังน้ำเขียว (Wk)
                             ซึ่งได้แสดงรายละเอียดของชุดดินที่พบมากของจังหวัดบึงกาฬ ในภาพที่ 1 - 5

                         1.5  สภาพการใช้ที่ดิน

                             สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันของจังหวัดบึงกาฬ จากฐานข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดินของ
                       กรมพัฒนาที่ดิน (ตารางที่ 1)


                       ตารางที่ 1  สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันของจังหวัดบึงกาฬ

                                                                                      เนื้อที่
                                    ประเภทการใช้ที่ดิน
                                                                              ไร่                ร้อยละ

                          พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง                               113,689              4.22
                          พื้นที่เกษตรกรรม                                        2,081,390             77.36

                              พื้นที่นา                                                616,791            22.94
                              พืชไร่                                                     19,359            0.73

                              ไม้ผล                                                        4,355            0.16
                              พืชสวน                                                       1,051            0.04
                              ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์                             877            0.03

                              พืชน้ำ                                                           32                -

                              สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ                                    1,824            0.06
                          พื้นที่ป่าไม้                                              161,113              5.98
                          พื้นที่น้ำ                                                 167,858              6.23

                          พื้นที่เบ็ดเตล็ด                                           167,041              6.21
                                          รวม                                  2,691,091              100.00

                       ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน, 2562
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15