Page 12 - แนวทางการส่งเสริมการเกษตรที่เหมาะสมตามฐานข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก Agri-Map จังหวัดบึงกาฬ
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                5






                         จังหวัดบึงกาฬ มีพื้นที่พืชเศรษฐกิจสำคัญที่ปลูกมาก 4 ลำดับแรก ได้แก่ ยางพารา ข้าว ปาล์มน้ำมัน
                       และมันสำปะหลัง (ตารางที่ 2)

                       ตารางที่ 2  พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีพื้นที่ปลูกมาก 4 ลำดับแรกของจังหวัดบึงกาฬ

                                พืชเศรษฐกิจ                   เนื้อที่ (ไร่)      ร้อยละของพื้นที่เกษตรกรรม
                            1. ยางพารา                         973,184                       46.76

                            2. ข้าว                            545,124                       26.15
                            3. ปาล์มน้ำมัน                      28,074                        1.34
                            4. มันสำปะหลัง                        7,352                       0.35

                       ที่มา: https://agri-map-online.moac.go.th, 2564
                         2.1  ยางพารา

                             ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของจังหวัดบึงกาฬ จากฐานข้อมูลในแผนที่เกษตรเชิงรุก หรือ
                       Agri-Map Online วิเคราะห์ข้อมูลได้ดังนี้ (ตารางที่ 3 และภาพที่ 6 – 7)

                             1) การวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ปลูกยางพารา
                               ระดับที่ 1 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 77,595 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.40 ของ
                       พื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภอเมืองบึงกาฬ 27,174 ไร่ อำเภอโซ่พิสัย 16,232 ไร่ และ
                       อำเภอบึงโขงหลง 8,550 ไร่
                               ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 831,448 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                       36.55 ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน กระจายตัวมากอยู่ในอำเภอเซกา 248,462 ไร่ อำเภอเมืองบึงกาฬ
                       148,517 ไร่ และอำเภอโซ่พิสัย 126,020 ไร่
                               ระดับที่ 3 เป็นพื้นที่ความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 632,804 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 27.80
                       ของพื้นที่ศักยภาพของที่ดิน พบมากอยู่ในอำเภอเมืองบึงกาฬ 205,304 ไร่ อำเภอพรเจริญ 102,569 ไร่
                       อำเภอโซ่พิสัย 96,542 ไร่
                               ระดับที่ 4 เป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 734,277 ไร่

                             2) การวิเคราะห์พื้นที่ปลูกยางพาราในปัจจุบัน ซึ่งจำแนกตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
                       ได้ดังนี้
                               (1) พื้นที่เหมาะสมสูง (S1) มีเนื้อที่ 17,969 ไร่ คิดเป็นร้อย 23.16 ของพื้นที่ศักยภาพสูง
                       พบมากอยู่ในอำเภอเมืองบึงกาฬ 10,245 ไร่ อำเภอบุ่งคล้า 2,442 ไร่ และอำเภอปากคาด 2,098 ไร่

                               (2) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง (S2) มีเนื้อที่ 644,839 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 77.56 ของพื้นที่
                       ศักยภาพปานกลาง พบมากอยู่ในอำเภอเซกา 172,203 ไร่ อำเภอเมืองบึงกาฬ 123,529ไร่ และอำเภอ
                       โซ่พิสัย 97,968 ไร่
                               (3) พื้นที่เหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่ 310,259 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 49.03 ของพื้นที่
                       ศักยภาพเล็กน้อย พบมากอยู่ในอำเภอเมืองบึงกาฬ 114,1309  ไร่ อำเภอพรเจริญ 75,453 ไร่ และ
                       อำเภอโซ่พิสัย 54,432 ไร่
                               (4)  พื้นที่ไม่เหมาะสม (N) มีเนื้อที่ 117 ไร่
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17